กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6976
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลในการบริหารเพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำในทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Management effectiveness of water resource development in Tungkularhonghai, Roi Et Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัจฉรา โพธ์ิดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทศพล บัวผัน, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
การพัฒนาแหล่งน้ำ -- ไทย -- ร้อยเอ็ด
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิผลในการบริหารเพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำ ใน พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและการปัจจัยด้าน บริหารองค์การกับประสิทธิผลในการบริหารเพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเกษตรกรผู้ใช้น้ำ เกี่ยวกับ ประสิทธิผลในการบริหารเพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำ ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ดและ (4) เสนอแนะแนว ทางการปรับปรุงการบริหารเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมด จำนวน 125 คน และเกษตรกรผู้ใช้น้ำ จำนวน 15,936 คน ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดและเกษตรกร 390 คน คำนวณโดยสูตรของยามาเน่ รวมกลุ่มตัวอย่าง 515 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สุ่มตัวอย่างแบบโควต้า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า (1) ในภาพรวมบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเกษตรกรผู้ใช้น้ำ มีความเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลในการบริหารเพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำ ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ อยู่ในระดับมาก (2) ทั้งปัจจัยสิ่งแวดล้อมและปัจจัยด้านการบริหารองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลในการบริหาร เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำ ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยปัจจัยด้านกายภาพ ด้านสังคม ด้านการติดตามและตรวจสอบ และด้านการดำเนินงานมีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิผลในระดับปานกลาง นอกนั้นมีความสัมพันธ์ในระดับน้อย (3) เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นพบว่า ผู้ปฏิบัติงานขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและเกษตรกรผู้ใช้น้ำ มีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับประสิทธิผลในการบริหารเพื่อการพัฒนาแหล่ง น้ำ ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการบริหาร เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ ได้แก่ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนงานพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทานมากขึ้น โดยการส่งเสริมและเพิ่มบทบาทของกลุ่มผู้ใช้น้ำ ที่ได้รับการจัดตั้งในระดับพื้นที่เพื่อเสนอ คัดกรอง เรียงลำดับ ความสำคัญของแผนงานและมีส่วนร่วมในการติดตามและตรวจสอบ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6976
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140347.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons