Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6988
Title: | การบริหารค่าตอบแทนของโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง |
Other Titles: | Compensation management of Industries Factory at Ladkrabang Industrial Estate |
Authors: | กิ่งพร ทองใบ หงิม ปากหวาน, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา รชพร จันทร์สว่าง |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ การบริหารค่าตอบแทน--ไทย นิคมอุตสาหกรรม--ไทย |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและลักษณะของการบริหารค่าตอบแทนของโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการบริหารค่าตอบแทนแก่พนักงานในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง และ (3) เสนอแนะการบริหารค่าตอบแทนที่มีประสิทธิภาพให้กับโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรได้แก่ บริษัทในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง 242 บริษัท กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้บริหารและพนักงาน กลุ่มผู้บริหาร สุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจงและทำการรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหาร 20 บริษัท และกลุ่มพนักงานสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและทำการรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพและลักษณะของการบริหารค่าตอบแทนในโรงงานอุตสาหกรรมลาดกระบัง ในมุมมองของผู้บริหารเห็นว่า กระบวนการบริหารส่วนใหญ่มีการวิเคราะห์งานและประเมินงานโดยเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการบริหารค่าตอบแทน และผู้บริหารมีความพึงพอใจในการบริหารค่าตอบแทนระดับสูง สำหรับมุมมองของพนักงานซึ่งส่วนใหญ่เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการ มีความสนใจในเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน มีความเห็นว่าค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและมีการบวกเพิ่มค่าค่าตอบแทนทางอ้อมบางรายการจากกฏหมายคุ้มครองแรงงาน พนักงานมีความ พึงพอใจในการบริหารค่าตอบแทนในระดับปานกลาง (2) ปัญหาและอุปสรรคทางการบริหารค่าตอบแทนอยู่ที่ความสนใจและผลประโยชน์ที่แตกต่างกันของฝ่ายบริหารและพนักงาน โดยฝ่ายบริหารเห็นว่าการบริหารค่าตอบแทนขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานเป็นสำคัญ การกำหนดค่าตอบแทนอาศัยหลักการการวิเคราะห์และประเมินค่างานอย่างเป็นระบบ แต่พนักงานมีความต้องการในค่าตอบแทนทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม ทำให้มีความต้องการที่มากและไม่อยู่บนหลักปรัชญาพื้นฐานของการบริหารค่าตอบแทน และ (3) การบริหารค่าตอบแทนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอีกทั้งมีความสอดคล้องกับความต้องการของพนักงาน ผู้บริหารควรให้พนักงานมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารค่าตอบแทนและให้ความสำคัญในเรื่องการสื่อสารนโยบายการบริหาร เพื่อให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น เพื่อลดการต่อต้านของพนักงาน และเพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้งในการบริหารค่าตอบแทน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/6988 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
140611.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License