กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7015
ชื่อเรื่อง: ผลของการสอนซ่อมเสริมคณิตศาสตร์เรื่องจำนวน 1 ถึง 10และ 0 โดยวิธีสอนที่ใช้การละเล่นพื้นบ้านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of using the teaching method employing folk plays for mathnmetics remedialTeaching on the topic of numbets [ที่ถูกต้อง numbers] 1 to 10 and 0 for Prathom Suksa 1 students at Choaphraya Dam School in Chainat province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บัญชา แสนทวี, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินตนา มูลพฤกษ์, 2497-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน --การศึกษาเฉพาะกรณี
คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
คณิตศาสตร์--การสอนซ่อมเสริม.
คณิตศาสตร์--การสอนด้วยสื่อ
การสอนซ่อมเสริม--ไทย--ชัยนาท
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ เรื่องจํานวน 1 ถึง 10 และ 0 ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยวิธีการสอน ที่ใช้การละเล่นพื้นบ้าน (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องจำนวน 1 ถึง 10 และ 0 ของนักเรียนเป็นรายบุคคลกับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของ นักเรียนหลังการเรียนโดยวิธีการสอนที่ใช้การละเล่นพื้นบ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2546 โรงเรียนเขื่อนเจ้าพระยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท ซึ่งมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 ต่ำกว่าร้อยละ 50 จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการสอนที่ใช้การละเล่นพื้นบ้าน แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก และแบบวัดความพึงพอใจ ในการเรียนคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ของนักเรียนรายบุคคลผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 จำนวน 60 คน (3) นักเรียนมีความ พึงพอใจในการเรียนคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการสอนที่ใช้การละเล่นพื้นบ้านในระดับมากที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7015
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_82409.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons