กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7019
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลในการให้บริการสาธารณะการจัดเก็บขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Public service effectiveness of waste collection services in Ban-Chang Sub-district Administration Organization of Pathumthani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พนมพัทธ์ สมิตานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภัทรพงษ์ วงศ์หงษ์, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ขยะ--การจัดการ--ไทย--ปทุมธานี
บริการสาธารณะ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในด้านการบริหารจัดการการจัดเก็บขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี (2) ระดับประสิทธิผลในการให้บริการสาธารณะการจัดเก็บขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในด้านการบริหารจัดการการจัดเก็บขยะมูลฝอยกับประสิทธิผลในการให้บริการสาธารณะ การจัดเก็บขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้คือครัวเรือนที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการ สาธารณะการจัดเก็บขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฉาง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่หมู่ที่ 1 บ้านคลองบางโพธิ์เหนือฝั่งใต้ หมู่ที่ 2 บ้านเจ้าคุณและหมู่ที่ 3 บ้านคลองบางหลวง ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนในพื้นที่ให้บริการทั้งสิ้น 2,445 ครัวเรือน และกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยคือตัวแทนของแต่ละครัวเรือนทั้ง 3 หมู่บ้าน ใช้วิธีการสุ่มขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตัวแทนของแต่ละครัวเรือนโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 จึงได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 344 ครัวเรือน และใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนประชากร โดยใช้หมู่บ้านเป็นระดับในการสุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในด้านการบริหาร จัดการการจัดเก็บขยะมูลฝอยโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยการบริหารจัดการการจัดเก็บขยะมูลฝอยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน (2) ระดับประสิทธิผลในการให้บริการสาธารณะ การจัดเก็บขยะมูลฝอยโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงระดับลำดับจากมากไปยังน้อย คือความสะอาด และสภาพแวดล้อมของพื้นที่การจัดเก็บขยะมูลฝอย ความพึงพอใจของผู้รับบริการ และปริมาณการลดลง ของขยะมูลฝอยตามลำดับ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารจัดการการจัดเก็บขยะมูลฝอยกับประสิทธิผลในการให้บริการสาธารณะการจัดเก็บขยะมูลฝอยมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7019
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_153017.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons