กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7032
ชื่อเรื่อง: ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเครื่องมือแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลกรุงเทพฯ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Organizational commitment of operational biomedical engineering staff in Bangkok Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณา ศิลปอาชา, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิตพิสุทธิ์ ไหมสุวรรณ, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: โรงพยาบาลกรุงเทพ--พนักงาน
ความผูกพันต่อองค์การ
ความภักดีของลูกจ้าง
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเครื่องมือแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลกรุงเทพในด้านการคงอยู่กับองค์การ ด้านความรู้สึกและด้านบรรทัดฐาน และ 2) ศึกษาปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยด้านลักษณะขององค์การ และปัจจัยด้านประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเครื่องมือแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลกรุงเทพ การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ประชากรคือ บุคลากรเกรื่องมือแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลกรุงเทพ ทั้งหมด 47 คน ซึ่งใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน (t-Test) การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) บุกลากรเครื่องมือแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลกรุงเทพ มีระดับความผูกพันต่อองค์การ โดยรวมทุกคนอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายค้นพบว่า ด้านการคงอยู่กับองค์การ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านบรรทัดฐาน และด้านความรู้สึก และ 2) บุคลากรเครื่องมือแพทย์ที่มีอายุ 21-30 ปีมีระดับความผูกพันต่อองค์การสูงกว่าอายุ 31-40 ปี และผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกันมีระดับความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .5 ส่วนปัจจัยลักยณะส่วนบุคคลด้านเพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และรายได้ต่อเดือนความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ปัจจัยด้านคุณลักษณะขององค์การ ปัจจัยด้านคุณลักษณะงาน และปัจจัยด้านประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .5 มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ในระดับสูงตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7032
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_162047.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons