กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/703
ชื่อเรื่อง: ปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้นำท้องถิ่นกับผู้นำท้องที่ : ศึกษากรณีอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Conflicts between local and provincial leaders : a case study of Yang Si Suraj District, Maha Sarakham Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปธาน สุวรรณมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ยุทธพร อิสรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปราโมทย์ รวิยะวงศ์, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
ผู้นำชุมชน
ความขัดแย้งทางบทบาท
ความขัดแย้งทางสังคม
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สาเหตุความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างผู้นำท้องถิ่นและผู้นำท้องที่ (2) รูปแบบของความขัดแย้งระหว่างผู้นำท้องถิ่นและผู้นำท้องที่ (3) วิธีจัดการความขัดแย้งระหว่างผู้นำท้องถิ่นและผู้นำท้องที่ (4) ผลกระทบของความขัดแย้งระหว่างผู้นำท้องถิ่นและผู้นำท้องที่ ผลการวิชัย พบว่า (1)สาเหตุความขัดแย้งมาจากด้านบุคคล ปฏิสัมพ้นข์ในการทำงานและสภาพของพื้นที่และองค์กร เป็นความขัดแย้งด้านผลประโยชน์และเป๋าหมายที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความคิดเห็นที่ไม่ ตรงกัน และผลประโยชน์ทางการเมือง ก็อาจเป็นตัวแปรหรือปัจจัยในความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ (2) รูปแบบความขัดแย้ง ส่วนมากเป็นรูปแบบความขัดแย้งทางความคิด ทำให้การติดต่อสื่อสารขาดประสิทธิภาพ เกิดการปฏิบัติที่แตกต่างกัน (3) วิธิจัดการความขัดแย้งส่วน ใหญ่ใช้วิธีการประนีประนอม (4) ผลกระทบของความขัดแย้ง ก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ผลเสียได้แก่ ความเป็นมิตรระหว่างบุคคลลดลง ความเชื่อ คือ ไว้วางใจต่อกันหมดไป เกิดความแตกแยก เป็นฟักฝ่าย เกิดความบาดหมางระหว่างกัน อาจนำมาซึ่งการใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลในการแก้ไขปัญหา สัมพันธภาพที่ดีลดลง นำไปสู่ความตึงเครียดและ/หรือหาทางออกด้วยวิธิการที่รุนแรงประชาชนเกิดความเบื่อหน่าย ผลดี ได้แก่ เกิดความผิดพลาดในการทำงานลดลง เกิดความคิดที่ สร้างสรรค์และแสวงหาข้อเท็จจริง มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจมากขึ้น ปัญหาชัดเจนมากขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เกิดความสามัคคีในหน่วยงาน และผลกระทบต่อหน่วยงาน ได้แก่ทำให้ภาพพจน์ของหน่วยงานเสียหาย ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน เกิดการต่อด้าน ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ เกิดการพัฒนาที่ล่าช้า ขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/703
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
122021.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons