กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7044
ชื่อเรื่อง: การปฏิบัติตามกระบวนการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The practice based on academic administration process of school administrators in Ko Yao District, Phang-nga province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ประยงค์ เนาวบุตร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปภาดา ทองไชย, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้บริหารโรงเรียน -- การบริหาร
ผู้บริหารโรงเรียน -- ไทย -- พังงา
การศึกษาอิสระ -- บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการปฏิบัติตามกระบวนการบริหารงาน วิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในอําเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา (2) เปรียบเทียบการปฏิบัติตาม กระบวนการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนจําแนกตามสภาพพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียน และ (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกระบวนการบริหารงานวิชาการของ ผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนในอําเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ปีการศึกษา 2552 จํานวน 97 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ใน การ วิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้บริหารโรงเรียนในอําเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา มีการปฏิบัติตาม กระบวนการบริหารงานวิชาการ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เรียงตามลําดับจากค่าเฉลี่ย สูงสุด ได้แก่ ด้านการแก้ไขปรับปรุง ด้านการดําเนินการตามแผนงานวิชาการ ด้านการวางแผนงาน วิชาการ และด้านการประเมินผลการดําเนินงานวิชาการ ตามลําดับ (2) ผู้บริหารโรงเรียนซึ่งโรงเรียน ตั้งอยู่ในพื้นที่เกาะยาวน้อยกับพื้นที่เกาะยาวใหญ่ มีการปฏิบัติตามกระบวนการบริหารงานวิชาการทุก ด้านไม่แตกต่างกัน และ (3) ปัญหาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่สําคัญ ได้แก่ และผู้บริหาร โรงเรียนไม่สามารถปฏิบัติตามแผนงานวิชาการได้อย่างครบถ้วน ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ ผู้บริหาร โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการวางแผนงานวิชาการให้มากขึ้น และผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนเปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการวางแผนงานวิชาการค่อนข้างน้อย ควรดําเนินการตามแผนงานวิชาการที่วางไว้ให้ครบถ้วน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7044
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_119096.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons