Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/705
Title: ปัจจัยทำนายสมดุลชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรณีศึกษาในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
Other Titles: Factors predicting work-life balance of registered nurses at the tertiary hospital : a case study at Bhumibol Adulyadej Hospital
Authors: สุทธีพร มูลศาสตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วันเพ็ญ แก้วปาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฐานิดา ทิพวาที, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์
พยาบาล
การทำงาน
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สมดุลชีวิตการทํางานของพยาบาลวิชาชีพ (2) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านงานกับสมดุลชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ และ (3) ความสามารถในการทำนายของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัวและปัจจัยด้านงาน ต่อสมดุลชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลเดช กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งมีประสบการณ์ในการพยาบาล ผู้ป่วยในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดชอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 219 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลส่วนบุคคล (2) สุขภาพ (3) การสนับสนุนจากครอบครัว (4) วัฒนธรรมการทำงาน และ (5) สมดุลชีวิตการทำงาน ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีค่า ความตรงตามเนื้อหาของส่วนที่ 2, 3, 4 และ 5 เท่ากับ .99, 1.00, 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ และค่าความเที่ยง สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบราค เท่ากับ .89, .95 , .93 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติสหพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) สมดุลชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยูในระดับมาก (M =3.59, SD = .44) โดยสมดุลด้านความผูกพันทางจิตใจและสมดุลด้านความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (M =3.89, SD = .93 และ M =3.60, SD = .56 ตามลำดับ) ส่วนสมดุลด้านเวลาอยู่ในระดับปานกลาง (M =3.38, SD = .67) (2) อายุ ลักษณะงาน(เวรเช้าและเวรล่วงเวลา) วัฒนธรรมการทำงานแบบเน้นการมีส่วนร่วม ตำแหน่งงาน (ผู้บริหารการ พยาบาล) วัฒนธรรมการทำงานแบบเน้นการปรับตัว แบบเน้นพันธกิจ แบบเน้นโครงสร้างและกฎระเบียบ และ การสนับสนุนจากครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมดุลชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ (r = .470, .438, .367, .280, .265, .255, .164, และ .160 ตามลำดับ) ส่วนสุข ภาพ และจำนวน ชั่วโมงการทำงาน มี ความสัมพันธ์ทางลบกับสมดุลชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.454 และ -.408 ตามลำดับ) (3) อายุ สุขภาพ วัฒนธรรมการทำงานแบบมีส่วนร่วม การสนับสนุนจากครอบครัว และ จำนวนชั่วโมง การทำงาน สามารถร่วมกันทำนายสมดุลชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 51.8 (R2 =.518) ดังนั้น ปัจจัยทำนายเหล่านี้ควรได้รับการพัฒนาเพื่อส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพมีสมดุลชีวิตการทำงานที่ดีต่อไป
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/705
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext 153724.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.57 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons