Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7064
Title: ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อความต้องการรับบริการอบรมของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อเสริมสมรรถนะการดำเนินงานจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย
Other Titles: Marketing mix factors affecting the training needs for operational capacity improvement of health security funding agencies from the policy research and development institute foundation
Authors: ยุทธนา ธรรมเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศรีธนา บุญญเศรษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
มริน เปรมปรี, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด -- วิทยานิพนธ์
ประกันสุขภาพ -- การตลาด -- ไทย
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (2) ความต้องการรับบริการอบรมของกองทุนเพื่อเสริมสมรรถนะการดำเนินงาน จากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย (สวน.) (3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อความต้องการ รับบริการอบรมของกองทุนเพื่อเสริมสมรรถนะการดำเนินงานจากมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย (สวน.) ประชากรในการวิจัย คือ ผู้รับผิดชอบบริหารหรือปฏิบัติงานในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จำนวนทั้งสิ้น 6,866 กองทุน กำหนดขนาดตัวอย่างจากการคำนวณโดยอาศัย สูตรของ ทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้จำนวนทั้งสิ้น 378 ราย แต่ในที่นี้ได้รับ แบบสอบถามที่สมบูรณ์มากกว่าจำนวนที่คำนวณได้ จึงกำหนดขนาดตัวอย่างจำนวน 521 ราย เลือก ตัวอย่างแบบชั้นภูมิและตามสะดวกจากกองทุนทั่วประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ ค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) กองทุนส่วนใหญ่เป็นกองทุนในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นระดับ ท้องถิ่น เฉลี่ยระยะเวลาการดำเนินงานประมาณ 5 ปี มีงบประมาณรวมของกองทุนปี พ.ศ. 2556 เฉลี่ย 758,088.86 บาท งบประมาณสนับสนับสนุนโครงการเฉลี่ย 534,284.94 บาท งบประมาณที่ใช้จ่ายใน หมวดพัฒนากองทุนเฉลี่ย 58,139.86 บาท และกองทุนมากกว่าร้อยละ 50 ไม่เคยได้รับการอบรมเสริม สมรรถนะ (2) กองทุนเกือบทั้งหมดมีความต้องการรับบริการอบรมเสริมสมรรถนะการดำเนินงานจาก มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย (สวน.) (3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ราคา การส่งเสริมการตลาด กระบวนการ และช่องทางการจัดจำหน่ายมีความสัมพันธ์กับความต้องการรับ บริการอบรมเสริมสมรรถนะจากมูลนิธิ สวน.ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7064
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
143297.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.73 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons