กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7066
ชื่อเรื่อง: ภาพลักษณ์รถยนต์ยี่ห้อนิสสันของผู้ใช้รถยนต์ในภาคอีสานตอนบน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Image Nissan's vehicle in the Upper Northeast
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัชราภรณ์ ทองวิเศษ, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด -- วิทยานิพนธ์
บริษัท นิสสัน จำกัด (ประเทศไทย) -- ความพอใจของผู้บริโภค
รถยนต์ -- การจัดซื้อ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ภาพลักษณ์องค์การ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ภาพลักษณ์องค์กรของรถยนต์ยี่ห้อนิสสัน ในมุมของของผู้ใช้รถยนต์ยี่ห้อนิสสันในเขตภาคอีสานตอนบน (2) ภาพลักษณ์พนักงานของรถยนต์ยี่ห้อนิสสัน ในมุมของของผู้ใช้รถยนต์ยี่ห้อนิสสันในเขตภาคอีสานตอนบน (3) ภาพลักษณ์ในด้านผลิตภัณฑ์และด้านการบริการของรถยนต์ยี่ห้อนิสสัน ในมุมของผู้ใช้รถยนต์ยี่ห้อนิสสัน ในเขตภาคอีสานตอนบน (4) เปรียบเทียบภาพลักษณ์ของรถยนต์นิสสัน จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลของผู้ใช้รถยนต์ยี่ห้อนิสสัน ของผู้ใช้รถยนต์ในเขตภาคอีสานตอนบน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ประชากร คือ ลูกค้าผู้มาใช้บริการศูนย์บริการรถยนต์นิสสัน ที่ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ความคลาดเคลื่อนระดับ 0.05 จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเฉพาะจังหวัดใหญ่ 6 จังหวัดในภาคอีสานตอนบน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นของลูกค้าที่มีต่อภาพลักษณ์ด้านองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยผู้ใช้รถยนต์ให้ข้อคิดเห็นในเรื่ององค์กรมีชื่อเสียงและมีความมั่นคงมากที่สุด (2) ระดับความคิดเห็นของลูกค้าที่มีต่อภาพลักษณ์ด้านพนักงานโดยรวมอยู่ในระดับมากโดยผู้ใช้รถยนต์ให้ข้อคิดเห็นในเรื่องการแต่งกายมีความสะอาด สุภาพ เรียบร้อยและมีมารยาท อัธยาศัย ไมตรีที่ดี มากที่สุด (3) ระดับความคิดเห็นของลูกค้าที่มีต่อภาพลักษณ์ด้านสินค้าและบริการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยผู้ใช้รถยนต์ให้ข้อคิดเห็นในเรื่องราคามีความเหมาะสมกับตัวสินค้า มากที่สุด (4) การเปรียบเทียบความแตกต่าง พบว่า ผู้ใช้รถยนต์ที่มีเพศ อายุ รายได้ รุ่นรถที่ใช้ อายุการใช้งานและปัจจัยในการเลือกเข้ารับบริการที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์รถยนต์นิสสันทั้งสามด้านไม่แตกต่างกัน แต่อาชีพที่แตกต่าง มีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์รถยนต์ในภาพรวมที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7066
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143742.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons