Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7074
Title: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
Other Titles: | Factors affecting the state of being learning organization of King Mongkut' s University of Technology North Bangkok |
Authors: | ปภาวดี มนตรีวัต อรนุช ใดงาม, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อิทธิเดช จันโททัย |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ--การบริหาร การบริหารองค์การ |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (2) ศึกษาปัจจัยด้านองค์การที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จำแนกตามประเภทของบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (4) เสนอแนะแนวทางสร้างเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือประเภทสายวิชาการ จำนวน 915 คน และ สายสนับสนุน จำนวน 720 คน จำนวนทั้งสิ้น 1,635 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 310 คน จากตารางเครซีและมอร์แกน สุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนและแบบง่าย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ อยู่ในระดับ มาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความคิดเชิงระบบ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำ ที่สุดได้แก่ ด้านความรอบรู้แห่งตน (2) ปัจจัยด้านองค์กรที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ พบว่า ด้านกลยุทธ์องค์กร ด้านโครงสร้างองค์กร ด้านภาวะผู้นำ และด้านวัฒนธรรมองค์กร ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05โดยร่วมกันพยากรณ์การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ร้อยละ 48.6 (3) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จำแนกตามประเภทของบุคลากร พบว่าประเภทของบุคลากรที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (4) ข้อเสนอแนะที่สำคัญได้แก่ บุคลากรทุกสายงานควรมีส่วนร่วมในการจัดทำกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน จัดบุคลากรให้เหมาะสมตามโครงสร้างการบริหารผู้นำควรมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ชัดเจน โปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ควรสร้างความสัมพันธ์ให้พนักงานทุกหน่วยงาน รู้สึกถึงความสำคัญของวัฒนธรรมองค์กรที่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างหน่วยงาน จัดให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรภายในที่เป็นเวทีใหญ่ ควรมีการประเมินตนเองและให้เพื่อนร่วมงานประเมินพฤติกรรมที่แสดงออกถึงแบบแผนความคิดอ่านและนำมาปรับปรุงตนเอง ส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร สนับสนุนให้มีการทำงานเป็นทีม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน บุคลากรต้องคิดให้ทันสถานการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7074 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
144240.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License