Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7086
Title: | การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครคุมประพฤติในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชนในสังกัดสำนักงานคุมประพฤติภาค 7 |
Other Titles: | Participation of volunteer probation officers in the community - based offenders rehabilitation services of the Probation Office Region 7 |
Authors: | เฉลิมพงศ์ มีสมนัย ธารินี แสงสว่าง, 2510- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปภาวดี มนตรีวัต |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ อาสาสมัครคุมประพฤติ การคุมประพฤติ--การมีส่วนร่วมของประชาชน |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครคุมประพฤติในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชนในสังกัดสำนักงานคุมประพฤติภาค 7 (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานของอาสาสมัครคุมประพฤติกับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครคุมประพฤติในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชนในสังกัดสำนักงานคุมประพฤติภาค 7 (3) เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครคุมประพฤติในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชน ในสังกัดสำนักงานคุมประพฤติภาค 7 จำแนกตามพื้นที่ (4) ศึกษาแนวทางในการสร้างเสริมการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครคุมประพฤติในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในสังกัดสำนักงานคุมประพฤติภาค 7 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร 1,235 คน ประกอบ้วย อาสาสมัครคุมประพฤติ ในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชนในสังกัดสำนักงานคุมประพฤติภาค 7 จำนวน 1,212 คน ผู้บริหารระดับสูงทั้งหมด และ บุคลากรทั้งหมดในเขตสำนักงานคุมประพฤติภาค 7 จำนวน 23 คน กลุ่มตัวอย่าง 324 คน ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงและบุคลากรทั้งหมดของสำนักงานคุมประพฤติภาค 7 จำนวน 23 คน และ อาสาสมัครคุมประพฤติในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชนในสังกัดสำนักงานคุมประพฤติภาค 7 จำนวน 301 คน คำนวณจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครคุมประพฤติ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการมีส่วนร่วมคิด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (2) ปัจจัยพื้นฐานที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครคุมประพฤติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยปัจจัยด้านความสามารถมีค่า ความสัมพันธ์สูงสุด (3) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า อาสาสมัครคุมประพฤติ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเพชรบุรี มีส่วนร่วมสูงสุด และอาสาสมัครคุมประพฤติ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัด สุพรรณบุรี มีส่วนร่วมต่ำ สุด (4) แนวทางสำคัญ ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ได้แก่ กรมคุมประพฤติควรพัฒนาความรู้ของอาสาสมัครคุม ประพฤติ เพื่อให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับ สำนักงานคุมประพฤติในการวิเคราะห์ปัญหาผู้กระทำผิด ส่งเสริม การมีส่วนร่วมกำหนดแผนงานเชิงรุกด้วยการมอบหมายให้เป็นผู้จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด ในชุมชน สนับสนุนด้านงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ในการทำงานให้เพียงพอ และส่งเสริมให้อาสาสมัครคุม ประพฤติบริหารจัดการศูนย์ป์ระสานงานอาสาสมัครคุมประพฤติด้วยตนอง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7086 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
144954.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License