กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7117
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมสรรพสามิตในส่วนกลาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting work motivation of Excise Department Officials in Central Offices
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
ราณี อิสิชัยกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
รังสรรค์ ทองดี, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
กรมสรรพสามิต
การจูงใจ (จิตวิทยา)
การทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมสรรพสามิตในส่วนกลาง (2) เปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร กรมสรรพสามิต ในส่วนกลาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจต่อ การปฏิบัติงานของบุคลากรกรมสรรพสามิตในส่วนกลาง (4) เสนอแนะแนวทางเสริมสร้างแรงจูงใจใน การปฏิบัติงานของบุคลากรกรมสรรพสามิตในส่วนกลาง ประชากร ได้แก่ บุคลากรของกรมสรรพสามิตในส่วนกลาง จำนวน 1,287 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 309 คน คำนวณจากสูตรของทาโร่ยามาเน่ กำหนดขนาดตัวอย่างแบบสัดส่วน และสุ่มตัวอย่าง แบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามซึ่งใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 304 คน และแบบสัมภาษณ์ซึ่ง ใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอย พหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า (1) ในภาพรวม บุคลากรกรมสรรพสามิตในส่วนกลาง มีระดับ แรงจูงใจใน การปฏิบัติงานในระดับมากที่สุด โดยด้านความพยายามในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านการมี เป้าหมายในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (2) เมื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานฯ จำแนกตามปัจจัย ส่วนบุคคล พบว่า ผู้ที่มีอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อัตราเงินเดือน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และตำแหน่งหน้าที่งานแตกต่างกัน มีแรงจูงในในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน นอกนั้นไม่แตกต่าง (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร ได้แก่ปัจจัย ด้านกลยุทธ์องค์การ แบบการ บริหาร ระบบ และโครงสร้างองค์การ โดยตัวแปรทั้ง 4 สามารถพยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ บุคลากรกรมสรรพสามิตในส่วนกลางได้ร้อยละ 46.30 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (4) ข้อเสนอแนะ สำคัญได้แก่ ควรสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรในการนำแผนกลยุทธ์มาใช้ให้มากขึ้น เปิดโอกาสให้ บุคลากรเข้ามีส่วนร่วมในการบริหาร ติดตั้งระบบสารสนเทศที่ทันสมัย สนับสนุนการทำงาน และกระจาย อำนาจการตัดสินใจแก่ผู้ปฎิบัติงานอย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7117
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
147164.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons