กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7128
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์รังนกของผู้บริโภคในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Purchasing behavior of cunsumers on Swiftlet Nest's products in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุทธนา ธรรมเจริญ
อิทธิพงศ์ กิจค้า, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ศิริชัย พงษ์วิชัย
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--วิทยานิพนธ์
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์รังนกของผู้บริโภคในประเทศไทย (2) สิ่งกระตุ้นทางการตลาดของผลิตภัณฑ์รังนกตามความคิดเห็นของผู้บริโภค(3) ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งกระตุ้นทางการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค และ (4) ความสัมพนันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริโภคกับพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค ประชากร คือ ผู้บริโภคที่ซื้อผลิตภัณฑ์รังนกในประเทศไทยซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนโดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย ใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไค-สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง อายุ 26-35 ปี ประกอบ อาชีพ ลูกจ้างทั่วไป/พนักงาน/งานส่วนตัว มีระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ย 10,000 – 20,000 บาท ต่อเดือน มีพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์รังนกคือ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อผลิตภัณฑ์รังนกยี่ห้อสก็อตรัง นกแท้ สถานที่ที่ซื้อบ่อยที่สุดคือร้านค้า สะดวกซื้อโดยโอกาสในการซื้อมากที่สุดคือซื้อไปเป็นของฝาก/ของขวัญในช่วงเวลาตั้ง แต่ 1200 – 1800 น. มีค่าใช้จ่ายในการซื้อ 500 – 1,000 บาท มีความถี่ในการซื้อ 1 – 2 ครั้งต่อเดือน และตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง (2) ระดับสิ่งกระตุน้ ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์รังนกตาม ความคิดเห็นของผู้บริโภคในประเทศไทย โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ใน ระดับมาก 2 ด้าน โดยเรียงตามลำดับ คือ ด้านการจัดจำหน่าย รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับ ปานกลาง 2 ด้านโดยเรียงตามลำดับ คือ ด้านราคา รองลงมาคือด้านส่งเสริมการตลาด (3) ผลการทดสอบ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งกระตุ้น ทางการตลาดกับ พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในประเทศไทยพบว่าทุกด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์รังนกในประเทศไทย (4) ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริโภคกับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์รังนกของผู้บริโภคในประเทศไทย พบว่า เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์รังนกของผู้บริโภคในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7128
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
147173.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons