กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7132
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาการรับรู้คุณค่าตราสินค้าของผู้บริโภคและปัจจัยทางการตลาดของโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Study of consumer's percepion to brand equity and marketing factors on Smart phone |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ลัดดา วัจนะสาริกากุล ภัทราภรณ์ สุขโสภี, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อมรรัตน์ ภิญโญอนันตพงษ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--วิทยานิพนธ์ ชื่อตราผลิตภัณฑ์--การตลาด สมาร์ทโฟน |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการรับรู้คุณค่าตราสินค้าของผู้บริโภคต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนระหว่างตราสินค้าซัมซุงและแอปเปิ้ล (2) เปรียบเทียบการรับรู้คุณค่าตราสินค้าของผู้บริโภคต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนระหว่างตราสินค้าซัมซุงและแอปเปิ้ลจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล (3) ศึกษาปัจจัยทางการตลาดของโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนตามการรับรู้ของผู้บริโภค การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 5,386,679 คน สุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คนโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถานที่เก็บข้อมูลคือห้างสรรพสินค้าบริเวณศูนย์บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เครือข่ายต่างๆ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติอนุมานในการทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า (1) การศึกษาการรับรู้คุณค่าตราสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนของสองตราสินค้าระหว่างซัมซุงและแอปเปิ้ล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) ผู้บริโภคที่มี อายุ รายได้ และอาชีพที่แตกต่างกันมีผลต่อการรับรู้ตราสินค้าที่แตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบโดยรวมพบว่ามีการรับรู้คุณค่าตราสินค้าของแอปเปิ้ลมากกว่าซัมซุง แต่การรับรู้ตราสินค้าของซัมซุงผ่านการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการมีมากกว่าตราสินค้าของแอปเปิ้ล (3) ผลการศึกษาด้านปัจจัยทางการตลาดพบว่า สิ่งเร้าที่เกิดจากส่วนประสมการตลาดอยู่ในระดับมาก สิ่งเร้าจากสภาพแวดล้อมภายนอกอื่นๆอยู่ในระดับมาก ยกเว้นสถานการณ์ทางการเมือง ส่วนการรับรู้ด้านความรู้สึกนึกคิดอยู่ในระดับปานกลาง และการตอบสนองของผู้บริ โภคต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนอยู่ในระดับมาก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7132 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
147178.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.75 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License