กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/714
ชื่อเรื่อง: | ประเพณีตายายย่านของชาวบ้านท่าคุระ อำเภอทิงพระ จังหวัดสงขลา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Tayaiyan custom of Thakhura Villagers, Sathing Phra District, Songkhla Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมเกียรติ วัฒนาพงษากุล เลขา สุวรรณชาตรี, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ประพนธ์ เรืองณรงค์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์ ประเพณีตายายย่าน สงขลา--ความเป็นอยู่และประเพณี |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา (1) ภูมิหลังของบ้านท่าคุระ ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา (2) ประเพณีตายายย่านของชาวบ้านท่าคุระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา (3) พิธีกรรมเกี่ยวกับประเพณีตายายย่านของชาวบ้านท่าคุระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) บ้านท่าคุระเป็นหมู่บ้านหนี่งของตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เดิมชื่อบ้านท่าทอง สันนิษฐานจากหลักฐานและการค้นคว้าข้อมูล พบว่า บ้านท่าคุระ มีบุคคลสำคัญในชุมชนเริ่มแรก คือ ตาพรหม และยายจัน ชาวบ้านแพรจันทร์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา (2) ประเพณีตายายย่านของชาวบ้านท่าคุระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา กำหนดจัดขึ้นในวันพุธ แรม 1 ค่ำเดือน 6 หากปีใดวันแรม 1 ค่ำไม่ตรงกับวันพุธให้เลื่อนออกไปเป็นวันพุธแรกข้างแรมของเดือน 6 ประเพณีดังกล่าวเป็นประเพณีของชุมชนที่สืบทอดกันมาหลายร้อยปีเกิดจากความศรัทธาต่อพระพุทธรูปเจ้าแม่อยู่หัวซึ่งหมายถึงพระพุทธรูปทองคำปางมารวิชัย หน้าตักกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร สูงประมาณ 2.5 เซนติเมตร ที่ประดิษฐานอยู่ในมณฑปวัดท่าคุระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา (3) พิธีกรรมเกี่ยวกับประเพณีตายายย่านของ ชาวบ้านท่าคุระ ที่ปฎิบัติสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ ได้แก่ พิธีสรงน้ำเจ้าแม่อยู่หัว พิธีสมโภชเจ้าแม่อยู่หัว พิธีแก้บน และพิธีการรำโนราโรงครู ซึ่งการปฏิบัติพิธีกรรมเกี่ยวกับประเพณีตายายย่านของชาวบ้านท่าคุระยังคงรูปแบบเดิม เพราะเป็นพิธีกรรมที่เกิดจากความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่มีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างไรก็ตาม พิธีกรรมดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/714 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext (2).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.3 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License