กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7151
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในจังหวัดระนอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting the successful adoption of the sufficiency economy philosophy in Ranong Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ดุสิต เวชกิจ ธนิญริญญ์ สิริปุณณาธิรัชต์, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรกรรมแบบผสมผสาน |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสำเร็จของการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไป ปฏิบัติของประชาชนในจังหวัดระนอง (2) เปรียบเทียบความสำเร็จของการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติใน จังหวัดระนอง จำแนกตามอำเภอ (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในจังหวัดระนอง และ (4) เสนอแนะแนวทางการดำเนินการเพื่อให้สามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจผสมผสานกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ประชากรคือประชาชนจาก 5อำเภอในจังหวัดระนอง จำนวน 86,838 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 398 คน ได้จากการคำนวณโดยใช้สูตรของทาโรยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิในการคัดเลือกตัวแทน สำหรับผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยการ สัมภาษณ์เป็นนายอำเภอหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณแบ่งเป็น 2 วิธี ได้แก่ (1) การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ (2) การวิเคราะห์สถิติอนุมาน นำมาใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ใช้การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้เทคนิคสวอท เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยในการหาข้อสรุปร่วมเพื่อการเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความสำเร็จของการนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติของประชาชนในจังหวัดระนองอยู่ในระดับมาก (2) ระดับความสำเร็จของการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติของแต่ละอำเภอในจังหวัดระนอง แตกต่างกัน (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในจังหวัด ระนอง ได้แก่ 1) องค์ประกอบของปัจจัยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ประกอบไปด้วยความพอประมาณ ความมีเหตุผลและเงื่อนไขความรู้ 2) ปัจจัยการนำนโยบายเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ และ3) ปัจจัยแรงจูงใจของการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ โดยทั้งหมดมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) แนวทางการดำเนินการเพื่อให้สามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น ได้สังเคราะห์มาจากแบบสัมภาษณ์โดยผ่านเทคนิค สวอท และ การทำตารางทาวส์ แมททริกซ์ออกมาเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินการ ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ ภาครัฐควรขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการสร้างวัฒนธรรมแห่งภูมิปัญญาวิถีชีวิตดั้งเดิม โดยอาศัยทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของจังหวัดระนอง เป็นฐาน โดยการจัดทาโครงการธรรมชาติบำบัดชีวิตภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7151 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
147660.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.23 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License