กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7158
ชื่อเรื่อง: | ความพึงพอใจของผู้ใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อบริการสุขภาพของศูนย์สุขภาพชุมชนในเขตกิ่งอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Universal coverage user's card satisfaction toward health service at primary care unit teparak district Nakhon Ratchasima province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสาวภา มีถาวรกุล เกียรติศักดิ์ เพียซ้าย, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | ศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดนครราชสีมา บริการสุขภาพ ประกันสุขภาพ--ไทย--นครราชสีมา การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ที่ใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อบริการสุขภาพในการมารับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนในเขตกิ่งอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา (2)ประเมินระดับความพึงพอใจของผู้ที่ใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีต่อบริการสุขภาพในการมารับบริการ ที่ศูนย์สุขภาพชุมชนในเขตกิ่งอำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ ประชาชนผู้มีสิทธิตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่มีอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ในเขตกิ่งอำเภอเทพารักษ์ ขังหวัดนครราชสีมา จำนวน 100 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มี 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลด้านคุณลักษณะของประชากร ส่วนที่ 2 ความ พึงพอใจของผู้ใช้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า สถิติที่ใชัในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS ผลการศึกษาจากการสำรวจ ผู้ใชับัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มารับบริการเป็นเพศหญิงมากกว่า เพศชาย ร้อยละ 56.0 อยู่ในกลุ่มอายุ 25-34 ปี ร้อยละ 37.0 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 84.0 ระดับการศึกษาอยู่ใน ระดับประถมศึกษา ร้อยละ50.0 มีอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 62.0 รายไต้ตํ่ากว่า 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 69.0 ผลการศึกษาความพึงพอใจโดยรวมของผู้ใชับัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีความพึงพอใจต่อบริการสุขภาพของ ศูนย์สุขภาพชุมชนอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 75.0 เมื่อจำแนกรายด้านพบว่า ด้านคุณภาพการบริการ ด้านบุคลากร ด้านความสะดวก และ ด้านข้อมูลข่าวสาร ผู้ใชับัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับเดียวกัน คือระดับสูง ร้อยละ 64.0,74.0,68.0 และ 81.0 ตามลำดับ ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา ควรจะมีการจัดอัตรา กำลังเจ้าหน้าที่ให้เพียงพอต่อการให้บริการ และพัฒนาระบบบริการให้มีความสะดวก รวดเร็ว และเปิดให้บริการนอกเวลาราชการเมื่อเกิดอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉิน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7158 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_82659.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 774.11 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License