Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7186
Title: ตัวแบบรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
Other Titles: Public sector management quality award model of the Office of National Economic and Social Advisory Council
Authors: เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชินรัตน์ สมสืบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดารัตน์ เปี่ยมพิบูลย์, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
การบริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของรางวัล คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2) พัฒนา ตัวแบบรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ระดับ ผู้บริหารสานักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จำนวน 7 คน ระดับผู้ปฏิบัติงานสำนักงาน สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จำนวน 7 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ วิทยากร และผู้ปฏิบัติงานด้านรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิธีการเก็บรวบรวม ข้อมูล ได้แก่ ศึกษาจากเอกสารและสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันด้านรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของ สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประกอบด้วย 1) ขาดความรู้ความเข้าใจ 2) ขาดนโยบาย ที่ชัดเจน 3) ขาดการสื่อสารที่ดี 4) ขาดสิ่งกระตุ้นจูงใจ 5) ขาดการติดตามประเมินผล และ 6) ขาดระบบ เทคโนโลยีที่ทันสมัย และสภาพที่พึงประสงค์ด้านรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของสำนักงาน สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ องค์กรต้องมีนโยบายและการสื่อสารที่ชัดเจนให้กับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง มีสิ่งกระตุ้นจูงใจ และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย (2) พัฒนาตัวแบบรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ พิจารณาได้ 3 ตัวแบบ ประกอบด้วย 1) ตัวแบบกระบวนการมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 สร้างองค์ความรู้ ขั้นตอนที่ 2 ถ่ายทอดความรู้ ขั้นตอนที่ 3 เข้าถึงข้อมูล ขั้นตอนที่ 4 แบ่งปันและแสวงหา ความรู้ และขั้นตอนที่ 5 ติดตามประเมินผล 2) ตัวแบบกลยุทธ์มี 6 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์สร้างความรู้ความ เข้าใจ กลยุทธ์จัดทาแผนปฏิบัติงาน กลยุทธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลยุทธ์วิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์การ กลยุทธ์ประชาสัมพันธ์และการใช้เทคโนโลยี และกลยุทธ์ทำงานเป็นทีม 3) ตัวแบบปัจจัยแห่งความสำเร็จ มี 5 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ปัจจัยด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยด้านการสื่อสาร และปัจจัยด้านการสร้างแรงจูงใจ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7186
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
148984.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.09 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons