กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7204
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการซื้อผ้าไทยของข้าราชการครูในจังหวัดอุทัยธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Purchasing behavior of Thai cloths of government teachers in Uthai Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สายสุนีย์ จาโรทก, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด --การศึกษาเฉพาะกรณี
ผ้า--ไทย--อุทัยธานี
ข้าราชการครู--การตัดสินใจ
พฤติกรรมผู้บริโภค--การตัดสินใจ
การศึกษาอิสระ--การตลาด
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของข้าราชการครูในจังหวัดอุทัยธานี (2) พฤติกรรมการซื้อผ้าไทยของข้าราชการครูในจังหวัดอุทัยธานี (3) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อผ้าไทยของข้าราชการครูในจังหวัดอุทัยธานี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากร คือ ข้าราชการครูในจังหวัดอุทัยธานี จำนวน 3,221 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่าง่ายกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 360 คน โดยใช้สูตรทาโรยามาเน่ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25-34 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 20,001-30,000 บาท และมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอุทัยธานี (2) พฤติกรรมการซื้อผ้าไทยของข้าราชการครูในจังหวัดอุทัยธานีส่วนใหญ่ซื้อผ้าไทยประเภทผ้าฝ้าย ผลิตจากภาคเหนือ เป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป เพื่อสวมใส่ในงานประเพณีสำคัญ โดยมีเพื่อนเป็นบุคคลที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อปีละ 1-2 ครั้ง โดยมีค่าใช้จ่ายในการซื้อครั้งละไม่เกิน 2,500 บาท ทั้งนี้เลือกซื้อจากร้านค้าที่มีสินค้าและบริการคุณภาพดีได้รับข้อมูลข่าวสารจากเพื่อนร่วมงาน (3) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดพบว่าข้าราชการครูในจังหวัดอุทัยธานีให้ความสำคัญด้านผลิตภัณฑ์ระดับมากที่สุดในเรื่องคุณภาพดีสีไม่ตก รองลงมาคือ ด้านราคาให้ความสำคัญในเรื่อง ราคาต้องสัมพันธ์กับคุณภาพของสินค้า และด้านการจัดจำหน่าย ให้ความสำคัญในเรื่องร้านค้าควรมีสินค้าจากหลากหลายชุมชนมาให้เลือกซื้อในส่วนด้านการส่งเสริมการตลาดให้ความสำคัญเรื่องการให้คำแนะนำการดูแลรักษาผ้าไทยอย่างถูกวิธี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7204
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_153820.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons