Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7219
Title: แรงจูงใจในการทำงานและการลาออกจากงานของผู้แทนยาในประเทศไทย
Other Titles: Working motivation and turnover of pharmaceutical sales representatives in Thailand
Authors: ยุทธนา ธรรมเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริชัย พงษ์วิชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนุชา ครุธทามาส, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด -- วิทยานิพนธ์
พนักงานขาย -- ความพอใจในการทำงาน
ร้านขายยา -- ไทย
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้แทนยาในประเทศไทย (2) แรงจูงใจในการทำงานของผู้แทนยาจากบริษัทยาในประเทศไทย (3) ระดับความสำคัญของแรงจูงใจในการ ทำงานของผู้แทนยาในประเทศไทย (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับแรงจูงใจในการทำงานของ ผู้แทนยาในประเทศไทย (5) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการลาออกจากงานของผู้แทนยาใน ประเทศไทย และ (6) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานและการลาออกจากงานของผู้แทนยาใน ประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นผู้แทนยาในประเทศไทย จำนวน 385 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวเิ คราะห์ ความแปรปรวนแบบทางเดียว กรณีการเปรียบเทียบเชิงซ้อนใช้วิธีการ แอล เอส ดี และเชฟฟี่เทส ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 56.9) มีอายุ 25-35 ปี และมี สถานภาพโสด สำเร็จการศึกษาในสาขาเภสัชศาสตร์ ซึ่งทำงานทั้ง ในบริษัทยาข้ามชาติและของไทย รับผิดชอบ เขตการขายในต่างจังหวัด มีประสบการณ์ในการทำงาน 1-3 ปี และมีรายได้เ ฉลี่ยต่อเดือน 50,001-70,000 บาท (2) แรงจูงใจในการทำงานของผู้แทนยาจากบริษัทยาในประเทศไทยมีดังต่อไปนี้ โอกาสการก้าวหน้าในอาชีพ การบังคับบัญชาและความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา เงินเดือนและค่าตอบแทน และความสำเร็จในการทำงาน (3) ระดับ ความสำคัญของแรงจูงใจในการทำงานของผู้แทนยาในประเทศไทยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อ พิจารณารายด้านพบวา่ ด้านโอกาสการก้าวหน้า ในอาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการบังคับบัญชา และความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน และด้านความสำเร็จในการทำงาน (4) ปัจจัย ส่วนบุคคลทุกด้านไม่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการทำงาน (5) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพการ สมรส ลักษณะของบริษัทที่สังกัดประสบการณ์ในการทำงานเป็นผู้แทนยา และรายได้ทั้งหมดโดยเฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับ การลาออกจากงานของผู้แทนยาในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (6) แรงจูงใจในการทำงานมีความสัมพันธ์กับการลาออกอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเฉพาะแรงจูงใจใน การทำงานด้านสถานภาพ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านการบังคับบัญชาและความสัมพันธ์กับ ผู้บังคับบัญชา ด้านนโยบายการบริหารของบริษัท ด้านเงื่อนไขในการทำงาน และด้านชีวิตส่วนตัว
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7219
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
150208.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.96 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons