Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7219
Title: | แรงจูงใจในการทำงานและการลาออกจากงานของผู้แทนยาในประเทศไทย |
Other Titles: | Working motivation and turnover of pharmaceutical sales representatives in Thailand |
Authors: | ยุทธนา ธรรมเจริญ อนุชา ครุธทามาส, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศิริชัย พงษ์วิชัย |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--วิทยานิพนธ์ พนักงานขาย--ความพอใจในการทำงาน ร้านขายยา--ไทย |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้แทนยาในประเทศไทย (2) แรงจูงใจในการทำงานของผู้แทนยาจากบริษัทยาในประเทศไทย (3) ระดับความสำคัญของแรงจูงใจในการทำงานของผู้แทนยาในประเทศไทย (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับแรงจูงใจในการทำงานของผู้แทนยาในประเทศไทย (5) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการลาออกจากงานของผู้แทนยาในประเทศไทย และ (6) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานและการลาออกจากงานของผู้แทนยาในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นผู้แทนยาในประเทศไทย จำนวน 385 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว กรณีการเปรียบเทียบเชิงซ้อนใช้วิธีการ แอล เอส ดี และเชฟฟี่เทส ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 56.9) มีอายุ 25-35 ปี และมีสถานภาพโสด สำเร็จการศึกษาในสาขาเภสัชศาสตร์ ซึ่งทำงานทั้ง ในบริษัทยาข้ามชาติและของไทย รับผิดชอบเขตการขายในต่างจังหวัด มีประสบการณ์ในการทำงาน 1-3 ปี และมีรายได้เ ฉลี่ยต่อเดือน 50,001-70,000 บาท (2) แรงจูงใจในการทำงานของผู้แทนยาจากบริษัทยาในประเทศไทยมีดังต่อไปนี้ โอกาสการก้าวหน้าในอาชีพการบังคับบัญชาและความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา เงินเดือนและค่าตอบแทน และความสำเร็จในการทำงาน (3) ระดับ ความสำคัญของแรงจูงใจในการทำงานของผู้แทนยาในประเทศไทยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบวา่ ด้านโอกาสการก้าวหน้า ในอาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการบังคับบัญชา และความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน และด้านความสำเร็จในการทำงาน (4) ปัจจัยส่วนบุคคลทุกด้านไม่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการทำงาน (5) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ สถานภาพการ สมรส ลักษณะของบริษัทที่สังกัดประสบการณ์ในการทำงานเป็นผู้แทนยา และรายได้ทั้งหมดโดยเฉลี่ยต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับ การลาออกจากงานของผู้แทนยาในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (6) แรงจูงใจในการทำงานมีความสัมพันธ์กับการลาออกอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเฉพาะแรงจูงใจในการทำงานด้านสถานภาพ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านการบังคับบัญชาและความสัมพันธ์กับ ผู้บังคับบัญชา ด้านนโยบายการบริหารของบริษัท ด้านเงื่อนไขในการทำงาน และด้านชีวิตส่วนตัว |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7219 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
150208.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License