Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/725
Title: การสอบสวนที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 40 (70)
Other Titles: The correct, prompt, and fair inquiry under the constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2550 (2007), Section 40 (7)
Authors: ชนินาฏ ลีดส์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สัญญา บัวเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สิทธิพงษ์ ศรีเลอจันทร์, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การสอบสวน
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม (2) วิเคราะห์ บทบาทและอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในการสอบสวนผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม (3) วิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคของพนักงานสอบสวนในการสอบสวนผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ไม่เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 40 (7) และ (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาการ สอบสวนผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 40 (7) การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาค้นคว้าวิจัยเอกสาร โดยการรวบรวมเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตำรา บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ งานวิจัย รวมทั้งตัวบทกฎหมาย ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ พร้อมทั้งนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ผลการวิจัยพบว่า กรณีการสอบสวนที่ไม่ถูกต้อง อาจเกิดจากปัญหาด้านกฎหมาย ได้แก่ (1) ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ที่คลาดเคลื่อนของพนักงานสอบสวน (2) การสอบสวนได้เองโดยลำพังของพนักงาน สอบสวนเป็นเหตุให้ขาดการตรวจสอบและถ่วงดุลจากองค์กรอื่น และ (3) การขาดการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบ การปฏิบัติงานของตำรวจจากภาคประชาชน กรณีการสอบสวนที่ล่าช้า อาจเกิดจากปัญหาด้านกฎหมาย ได้แก่ (1) การสอบสวนซ้าหรือการไปแจ้งความร้องทุกข์ในท้องที่ห่างไกลออกไปอย่างมาก และ (2) การสอบสวนรวบรวม พยานหลักฐานที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ กรณีการสอบสวนที่ไม่เป็นธรรม อาจเกิดจากปัญหาด้านกฎหมาย ได้แก่ (1) ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ที่คลาดเคลื่อนของพนักงานสอบสวน เช่นเดียวกับกรณีการสอบสวนที่ไม่ถูกต้อง (2) การสอบสวนซ้าหรือการเดินทางไปแจ้งความร้องทุกข์ในท้องที่ห่างไกลออกไปอย่างมาก เช่นเดียวกับกรณี การสอบสวนที่ล่าช้า และ (3) ค่าตอบแทนของพนักงานสอบสวนไม่เหมาะสมกับภาระงาน ดังนั้น เพื่อให้เกิดการสอบสวนที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรมตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ จึงอาจมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้าน กฎหมายดังกล่าวอันประกอบด้วยข้อเสนอแนะหลายประการ เช่น การแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาเพื่อเพิ่มบทบาทของพนักงานอัยการให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสอบสวนคดีอาญา, การกำหนดระเบียบหรือคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่วางแนวปฏิบัติให้พนักงานสอบสวนดำเนินการ สอบสวนโดยถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการกำหนดมาตรการส่งเสริมสิทธิ สวัสดิการ และ ความเจริญก้าวหน้าในอาชีพราชการของพนักงานสอบสวน ทั้งนี้ เพื่อจุดมุ่งหมายให้การสอบสวนเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ อันจะทำให้การสอบสวนเป็นมาตรการทางกฎหมายที่ช่วยอำนวยความยุติธรรม ให้แก่ประชาชน และสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคมสืบไป
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/725
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib124317.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons