กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7263
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อผลการตัดสินใจซื้อเคมีเกษตรของเกษตรกรในจังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors influencing the buying decision of farmers on Agriculture Chemical in Chiangrai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กุสุมา จันทรวงค์, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: สารเคมีทางการเกษตร--ไทย--เชียงราย
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของเกษตรกรที่ใช้เคมีเกษตรในจังหวัดเชียงราย (2) ระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อเคมีเกษตรของเกษตรกรในจังหวัดเชียงราย (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับปัจจัยส่วนบุคคลของเกษตรกรในจังหวัดเชียงราย (4) เสนอแนะแนวทางการตลาดแก่ร้านค้า ผู้ประกอบการค้า เคมีเกษตร ในจังหวัดเชียงราย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้คือครองพื้นที่ทางการเกษตรในจังหวัดเชียงรายจำนวน 117,801คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 400 คนตามสูตร ของ ทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที และ ไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 40-49ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมปลาย รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ระยะเวลาถือครองที่ดิน และประกอบอาชีพเกษตรกรรม 11-15ปี ใช้เคมีเกษตรเพื่อการเกษตร 6-10ปี ส่วนใหญ่มีรูปแบบการปลูกพืชประเภทพืชยืนต้น มีช่วงเดือนที่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชช่วงไตรมาส 2 ของปีหรือเดือนเมษายน - เดือนมิถุนายน (2) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับ มากโดยเรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด (3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาด มีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคลเชิงบวกอยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) ข้อเสนอแนะแนวทางการตลาดของร้านค้า และผู้ประกอบการค้าเคมีเกษตรในจังหวัดเชียงราย คือ ให้ส่วนลดเงินสดลูกค้า มีการจัดการสะสมแต้มในการซื้อสินค้าแต่ละครั้งของลูกค้าเพื่อแลกรางวัล จัดเรียงสินค้าให้มีความเข้าใจง่ายและมีความสะดวกในการซื้อของลูกค้า
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7263
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_152260.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons