กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7276
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท แมริกอท จิวเวลรี่ (ประเทศไทย) จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Strategic factors affecting employee efficiency of Marigot Jewellry (Thailand) Company Limited / Strategic factors affecting employee efficiency of Marigot Jewellry (Thailand) Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัจฉรา เขมะชิต, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทแมริกอทจิวเวลรี่ (ประเทศไทย) จำกัด--พนักงาน
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน (2) ระดับปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน (3) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานระดับหัวหน้างาน และผู้ช่วยหัวหน้างาน ประจำหน่วยงานสายการผลิตของบริษัท แมริกอท จิวเวลรี่ (ประเทศไทย) จำกัด ทั้งโรงงานสาขานิคมอุตสาหกรรมบางปู และสาขานิคมอุตสาหกรรมไฮเทคอยุธยา จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเเลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีแอลเอสดี และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานโดยรวมอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับดีทุกด้านตามลำดับคือ ด้านงานระหว่างการผลิต ด้านต้นทุน ด้านของเสียในกระบวนการผลิต และด้านระยะเวลาการส่งมอบ (2) ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยรวมอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยเชิงกลยุทธ์ ด้านภาวะผู้นำ ด้านการจัดการความรู้ และด้านการทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับดี และมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยเชิงกลยุทธ์ ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ อยู่ในระดับพอใช้ (3) พนักงานที่มีลักษณะส่วนบุคคล จำแนกตามโรงงานสาขาที่สังกัดแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานพบว่า มีระดับความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7276
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_123500.pdf3.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons