กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/727
ชื่อเรื่อง: | ผลของการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักสัปปุริสธรรมต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of Nursing performance based on the principles of the Sappurisadhamma on happiness at work of professional nurses at a community hospital, Surat Thani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย, อาจารย์ที่ปรึกษา กุญชร เจือตี๋, อาจารย์ที่ปรึกษา อรนรินทร์ แท่นอ่อน, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์ พยาบาลวิชาชีพ--ไทย--สุราษฎร์ธานี สัปปุริสธรรม การทำงาน--แง่ศาสนา--พุทธศาสนา ความสุข--แง่ศาสนา |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อ (1) ศึกษาความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี (2) เปรียบเทียบการเพิ่มขึ้นของความสุข ในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพระหว่างก่อนและหลังปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักสัปปุริสธรรม และ (3) เปรียบเทียบการเพิ่มขึ้นของความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติการพยาบาล โดยใช้หลักสัปปุริสธรรมและพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง เป็นพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองที่ปฏิบัติการพยาบาลตามหลักสัปปุริสธรรม และกลุ่มเปรียบเทียบที่ปฏิบัติการพยาบาลตามปกติกลุ่มละ10 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความสุขในการทำงาน ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา 0.97 ก่อนนำมาหาค่าความเที่ยง ด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธ์อัลฟาของครอนบราค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีที่มีกลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กัน และสถิติทดสอบทีที่มีกลุ่มตัวอย่างอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสุขในการทำงานโดยรวมของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับปานกลาง (2) พยาบาลวิชาชีพหลังปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักสัปปุริสธรรมมีความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p < .001) (3) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักสัปปุริสธรรมมีความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้นสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p < .001) |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/727 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext 153726.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.85 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License