กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/728
ชื่อเรื่อง: ความรับผิดชอบของประธานวุฒิสภาในการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The responsibilities of the senate speaker in countersigning the Royal Command
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กมลชัย รัตนสกาววงศ์
สิทธิวรชัย ศรีไหม, 2512
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ภาณินี กิจพ่อค้า
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์
วุฒิสภา
ความรับผิดชอบ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง ความรับผิดชอบของประธานวุฒิสภาในการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ นี้มี วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและหลักเกณฑ์ในการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาในต่างประเทศ (2) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและหลักเกณฑ์ในการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของไทย (3) ศึกษาวิเคราะห์กรณีประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนาม รับสนองพระบรมราชโองการและความรับผิดชอบของประธานวุฒิสภาในฐานะผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการของไทย (4) เสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับความรับผิดชอบของประธานวุฒิสภาในฐานะผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการของไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารทั้งจากบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ทั้งใน ระดับรัฐธรรมนูญและระดับพระราชบัญญัติประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขงานวิจัย หนังสือ บทความต่าง ๆ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่าการที่จะต้องมีผู้ลงรับสนองพระบรมราชโองการรับผิดแทนพระมหากษัตริย์มา จากหลัก “The king can do no wrong” และหลัก “The King cannot act alone” ของประเทศอังกฤษ เนื่องจาก รัฐสภาคณะรัฐมนตรีและศาล แล้วแต่กรณี เป็นผู้ใช้อํานาจอํานาจอธิปไตยในนามของพระมหากษัตริย์ ดังนั้น จึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการกระทําขององค์กรดังกล่าว สําหรับพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ที่จะต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการรับผิดชอบของไทยเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจอธิปไตยผ่านทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(ทําหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา) คณะรัฐมนตรีและศาล โดยการกำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเริ่มตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นต้นมา ที่กำหนดให้วุฒิสภามีอํานาจ หน้าที่ในการให้ความเห็นชอบและถวายคําแนะนําต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงแต่งตั้งผู้ดํารงตําแหน่งตาม บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ประธานวุฒิสภาจึงต้องเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการการใช้อํานาจ หน้าที่ดังกล่าวและหากประธานวุฒิสภาตรวจสอบแล้วพบว่า ผู้ได้รับการสรรหาหรือเลือกไม่มีคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามหรือกระบวนการได้มาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ประธานวุฒิสภาในฐานะผู้ลงนาม รับสนองพระบรมราชโองการรับผิดชอบมีอํานาจที่จะยับยั้งไม่นํารายชื่อดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ได้แต่หากประธานวุฒิสภาในฐานะผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการรับผิดชอบพบว่า ผู้ได้รับการสรรหาหรือเลือกไม่มีคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือการได้มาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายแล้วยังนํารายชื่อดังกล่าวขึ้น ทูลเกล้าฯ จะต้องมีความรับผิดชอบทั้งในทางการเมืองและในทางอาญาด้วย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญามหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/728
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib153693.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons