กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/729
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายในการจัดการของเสียอันตรายจากโรงงานนอกเขตการนิคมอุตสาหกรรม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal measures on hazardous waste management of industries outside the industrial estate
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มาลี สุรเชษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วราภรณ์ วนาพิทักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สาธิต โพธิรักษ์, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน -- วิทยานิพนธ์
การจัดการของเสีย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
ของเสียจากโรงงาน -- การจัดการ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์ศึกษาถึงกฎหมายเกี่ยวกบการจัดการของเสียอันตราย โดยมีวัตถุประสงค์การศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด หลักการ และทฤษฎีพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม และมาตรการทางกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม 2) เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายในการดําเนินการจัดการของเสียอันตรายและอุปสรรคในการดําเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศและหาแนวทางหรือมาตรการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับหลักการดําเนินการที่เป็นสากล และสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในด้านการจัดการและแก้ไขปัญหาของเสียอันตราย การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสารจากหนังสือ ตําราทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ ตัวบทกฎหมาย พระราชบัญญัติ บทความวิชาการ วารสาร สื่อออนไลน์ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการของเสียอันตราย ผลการศึกษาพบว่า 1) มาตรการบังคับทางอาญาในคดีสิ่งแวดล้อม มีมาตรการการ ลงโทษยังไม่เพียงพอที่จะบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากบทลงโทษไม่มีการแบ่งแยกผู้กระทําความผิดระหว่างบุคคลธรรมดาและผู้กระทําผิดที่เป็นนิติบุคคล ในต่างประเทศ มีการพัฒนาโทษทางอาญาให้เหมาะสมกับนิติบุคคลที่กระทําความผิด เช่น การแก้ไขบทลงโทษปรับให้สูงขึ้น หรือใช้มาตรการอื่นที่ไม่ใช่โทษทางอาญา อันได้แก่ การคุมประพฤตินิติบุคคล การให้ทํางานบริการสังคม 2) ปัญหาด้านหน่วยงานที่รับผิดชอบในต่างประเทศได้มีการตรากฎหมายให้หน่วยงานท้องถิ่นให้มีศักยภาพในการดําเนินการดังกล่าว การจัดให้มีหน่วยงานอิสระ ให้การดําเนินมาตรการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) ในต่างประเทศมีกฎหมายให้ความสําคัญ ของการมีส่วนร่วมโดยการกำหนดให้เป็นหน้าที่ของประชาชนในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม.(กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/729
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib162012.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons