กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/734
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชน : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลปากท่อ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors that affect citizens' voting choices in local elections : a case study of the Paktho Sub-district Administrative Organization, Pak Tor District, Ratchaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฐปนรรต พรหมอินทร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปธาน สุวรรณมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประพนธ์ เจียรกูล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ผกาพรรณ ต้นสอน, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
องค์การบริหารส่วนตำบล--ไทย--ราชบุรี (ปากท่อ)
การเลือกตั้งท้องถิ่น--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจ เลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชน ( 2 ) ศึกษาปัจจัยส่งเสริม ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชน ( 3 ) ศึกษาเปรียบเทียบระดับการตัดสินใจเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชนในด้านนโยบายของกลุ่มที่สังกัด ด้านคุณสมบัติของผู้สมัคร ด้านกลุ่มการเมืองท้องถิ่นที่สังกัดและด้านคุณสมบัติอื่นๆ (4) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค การตัดสินใจเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชน ผลการวิชัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงและมีรายได้ระหว่าง 5,001- 10,000 บาท โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนมากที่สุดมีอายุระหว่าง 31-40 ปีมีการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และประกอบอาชีพเกษตรกร (2) ปัจจัยส่งเสริมพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับการรับรู้ข่าวสารการเลือกตั้งท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น อยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน (3) การตัดสินใจเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชนอยู่ในระดับมีผลต่อการตัดสินใจเลือกตังมาก (4) ปัญหาและอุปสรรค ที่สำคัญ ได้แก่ คุณสมบัติของด้สมัคร มีวุฒิการศึกษาอยู่ในระดับตํ่า (5) ผลการทดสอบสมมติฐาน อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และอาชีพ มีความสัมพันธ์คับการตัดสินใจเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ส่วนเพศ การรับรู้ข่าวสารการเลือกตั้งท้องถิ่นและความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น ไม่มีความสัมพันธ์กับการ ตัดสินใจเลือกตั้ง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/734
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
97264.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons