กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7380
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปปฏิบัติในจังหวัดสุพรรณบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting the effectiveness of policy implementation of the agricultural zoning management in Suphanburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ ปวีณา คุตชนม์, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ดุสิต เวชกิจ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ นโยบายการเกษตร เกษตรกรรม--การบริหาร เกษตรกรรม--การจัดการ เกษตรกรรม--ไทย--สุพรรณบุรี |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี (2) ศึกษาปัญหา อุปสรรคในการนำนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี (4) เสนอแนะ แนวทางและมาตรการในการเพิ่มประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ให้สูงขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ 1) บุคลากรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 343 คน 2) ผู้บริหารระดับจังหวัด จำนวน 7 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ (1) บุคลากร จำนวน 185 คน คำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (2) ผู้บริหารระดับ จังหวัด จำนวน 3 คนใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ในระดับมาก (2) ปัญหา และอุปสรรค คือ การจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ และปัญหาด้านการตลาดของสินค้าเกษตรทำให้เกษตรกรขาดแรงจูงใจ (3) ปัจจัยด้านบุคคล และปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นปัจจัยมีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติ (4) ข้อเสนอแนะ คือ ควรสนับสนุนทรัพยากรในการนำนโยบายฯ ไปปฏิบัติให้มีความเหมาะสมและเพียงพอ และควรให้ความสำคัญและส่งเสริมด้านการตลาด ของสินค้าเกษตรเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่เกษตรกรเพื่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมไปปฏิบัติ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7380 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
154695.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.33 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License