Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7380
Title: | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปปฏิบัติในจังหวัดสุพรรณบุรี |
Other Titles: | Factors affecting the effectiveness of policy implementation of the agricultural zoning management in Suphanburi Province |
Authors: | เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ ปวีณา คุตชนม์, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ดุสิต เวชกิจ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ นโยบายการเกษตร เกษตรกรรม--การบริหาร เกษตรกรรม--การจัดการ เกษตรกรรม--ไทย--สุพรรณบุรี |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี (2) ศึกษาปัญหา อุปสรรคในการนำนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี (4) เสนอแนะ แนวทางและมาตรการในการเพิ่มประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ให้สูงขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ 1) บุคลากรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 343 คน 2) ผู้บริหารระดับจังหวัด จำนวน 7 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ (1) บุคลากร จำนวน 185 คน คำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (2) ผู้บริหารระดับ จังหวัด จำนวน 3 คนใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ในระดับมาก (2) ปัญหา และอุปสรรค คือ การจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ และปัญหาด้านการตลาดของสินค้าเกษตรทำให้เกษตรกรขาดแรงจูงใจ (3) ปัจจัยด้านบุคคล และปัจจัยการนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นปัจจัยมีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติ (4) ข้อเสนอแนะ คือ ควรสนับสนุนทรัพยากรในการนำนโยบายฯ ไปปฏิบัติให้มีความเหมาะสมและเพียงพอ และควรให้ความสำคัญและส่งเสริมด้านการตลาด ของสินค้าเกษตรเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่เกษตรกรเพื่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมไปปฏิบัติ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7380 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
154695.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License