กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7381
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของตำรวจตระเวนชายแดนที่ 23 ค่ายศรีสกุลวงศ์ จังหวัดสกลนคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting organizational commitment of Police Patrol 23, Srisakunvong Camp, Sakon Nakhon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
จีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
แสนพล ศรีภูธร, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
ความผูกพันต่อองค์การ
ตำรวจตระเวนชายแดน
ความผูกพันต่อองค์การ -- ไทย -- สกลนคร
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 23 ค่ายศรีสกุลวงศ์ จังหวัดสกลนคร (2) เปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์กรของตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 23 ค่ายศรีสกุลวงศ์ จังหวัดสกลนคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาปัจจัยด้านลักษณะงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 23 ค่ายศรีสกุลวงศ์ จังหวัดสกลนคร (4) เสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างระดับความผูกพันต่อองค์กรของตำรวจตระเวนชายแดนที่ 23 ค่ายศรีสกุลวงศ์ จังหวัดสกลนคร ประชากรในการศึกษาได้แก่ข้าราชการตำรวจ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 23 ค่ายศรีสกุลวงศ์ จังหวัดสกลนคร จำนวน 1,038 นาย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 289 คน คำนวณจากสูตรของยามาเน่ และกำหนดขนาดตามสัดส่วน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ในภาพรวมตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 23 ค่ายศรีสกุลวงศ์ จังหวัดสกลนคร มีความคิดเห็นต่อความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับมากที่สุด โดยความผูกพันด้านจิตใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และ ความผูกพันด้านการคงอยู่กับองค์กรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (2) บุคลากรที่มีพื้นที่ปฏิบัติงานแตกต่างกันมีระดับความผูกพันต่อองค์กรต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกนั้นไม่แตกต่าง (3) ปัจจัยด้านลัดษณะงานมีผลต่อทางบวกความผูกพันต่อองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยปัจจัยด้านความมีอิสระในการตัดสินใจ ส่งผลมากที่สุด และปัจจัยด้านข้อมูลป้อนกลับส่งผลน้อยที่สุด (4) ข้อเสนอแนะแนวทางเพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กร ได้แก่ องค์กรควรเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแสดง ความสามารถโดยอิสระในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ควรมอบหมายงานให้เหมาะสมกับงานตามความรู้ ความสามารถ ความสนใจ ความถนัด เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาชี้แจงแนวทางในการแก้ปัญหาโดยเฉพาะ ปัญหาด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน นอกจากนั้นควรให้ข้อมูลป้อนกลับผลการปฏิบัติงานแก่บุคลากรด้วย วาจานอกเหนือจากลายลักษณ์อักษร เพื่อให้บุคลากรทราบจุดเด่นจุดด้อยและแนวทางในการแก้ไขปรับปรุง การปฏิบัติงานของตนต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7381
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
154696.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons