Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/739
Title: พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539 ศึกษาเฉพาะกรณีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
Other Titles: Tortious liability of officials Act B.E. 2539 (1996) : the definition of "Intention or Gross Negligence"
Authors: ภานุมาศ ขัดเงางาม
สุชาโณ ขาวสำลี, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ภูมิ โชคเหมาะ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์--ละเมิด
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัย เรื่อง พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ศึกษาเฉพาะกรณี เกี่ยวกับการกระทำละเมิดด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ให้ทราบทราบถึงเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ที่มีความมุ่งหมายที่จะไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจหรือความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยในการปฏิบัติหน้าที่ และไม่ต้องการให้นําหลักในเรื่องลูกหนี้ร่วมในกฎหมายแพ่งมาใช้บังคับให้เจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิดในการกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้อื่น โดยมุ่งหมายแต่เพียงจะให้ได้รับค่าสินไหมทดแทนครบ โดยไม่คํานึงความเป็นธรรมที่จะมีต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่่จนเป็นปัญหาในการบริหาร (2) วิเคราะห์ถึงปัญหา เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาปรับปรุงหลักเกณฑ์หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมและเป็นธรรม การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิจัยจากเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาถึงหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของรัฐที่ปรากฏในประเทศไทยรวมทั้งศึกษาถึง หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของรัฐต่างประเทศเช่น ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอังกฤษ และ ประเทศเยอรมัน ศึกษาหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเรื่องความรับผิดทางละเมิดของรัฐในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมมาปรับใช้กับความรับผิดของรัฐในประเทศไทยต่อไป ผลการศึกษาพบว่าปัญหาของมาตรฐานในการวินิจฉัยคำว่า “ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” ตาม มาตรา 8 ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นเครื่องชี้ว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่บุคคลใด จะเป็นผู้ชี้หรือวางมาตรฐานว่าการกระทำอย่างไรเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ปัจจุบัน ดุลพินิจในการพิจารณาว่าการกระทำใดของเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่จะตกอยู่ที่หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นสังกัดอยู่จึงเสนอแนะให้มีการเผยแพร่คําวินิจฉัยที่เป็นบรรทดฐานให้ หน่วยงานของรัฐเป็นแนวทางและเห็นสมควรให้ปรับปรุงคุณสมบัติของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ความรับผิดทางละเมิด เนื่องจากระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มิได้กำหนดให้คณะกรรมการต้องประกอบไปด้วยผู้ที่มีความรู้ความสามารถในทางกฎหมายเป็นกรรมการร่วมอยู่ด้วย ควรมีการเพิ่มเติม ปรับปรุง ให้มีนิยามศัพท์คําว่า “จงใจ” และ “ประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรง” ไว้ในพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ฉบับปัจจุบัน
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/739
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib135315.pdfเอกสารฉบับเต็ม28.4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons