กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7393
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลโพพระ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of Phopra Sub-district administrative organization, Mueang Phetchaburi District, Phetchaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จำเนียร ราชแพทยาคม
ชมพูนุท ดวงโต, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จีระ ประทีป
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
องค์การบริหารส่วนตำบล--ไทย--การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินผลการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลโพพระอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ในด้านการเงิน ด้านกระบวนการภายใน ด้านประชาชนผู้รับบริการ และด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (2) เพื่อศึกษาปัญหาในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลโพพระ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลโพพระ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวดั เพชรบุรี ประชากร คือ คณะผู้บริหารและพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลโพพระ จำนวน 9 คน และ ประชาชนตำบลโพพระ ทั้ง 11 หมู่บ้าน จำนวน 2,205 คน กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนตำบลโพพระ จำนวน 339 คน กำหนด ขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ สุ่มตัวอย่างแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ใช้สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน คือ คณะของผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลโพพระ จำนวน 4 คน และพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลโพพระ จำนวน 5 คน การวิเคราะห์ข้อมลู เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ผลการปฏิบัติงานด้านการเงิน มีรายรับมากกว่ารายจ่ายทุกปี โดยรายรับที่สูงกว่ารายจ่าย เกิดจากเงินอุดหนุนจากภาครัฐ ด้านกระบวนการภายใน มีเกณฑ์การดำเนินงานได้คะแนนร้อยละ 68.50 อยู่ในระดับดี ด้านประชาชนผู้รับบริการ ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานและภาพรวมขององค์การบริหารส่วนตำบลโพพระ อยู่ในระดับดี ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลโพพระ มีการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มความรู้ และทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ (2) ปัญหาการดำเนินงานที่สำคัญ คือปัญหาด้านการเงิน รายได้ที่จัดเก็บ ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาท้องถิ่น ปัญหาด้านกระบวนการภายในคือ บุคลากรขาดทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกฎหมายในการดำเนินงาน และขาดการวางแผนในการดำเนินงาน ทำให้ไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาด้านประชาชนผู้รับบริการ การจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล ยังไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริงและทั่วถึง เพราะขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัญหาด้านการเรียนรู้และการพัฒนาการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ยังไม่มีการนำมาปรับประยุกต์กับภารกิจงานและขาดการติดตามประเมินผล (3) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาด้านการเงิน ควรวางแผนการใช้จ่ายให้ตรงตามความเร่งด่วนและความสำ คัญของท้องถิ่น ด้านกระบวนการภายใน ควรวางแผนด้านบุคลากรในเรื่องการจัดการความรู้ในการปฏิบัติงานและการวางแผนการดำเนินงานเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา ด้านประชาชนผู้รับบริการ ควรส่งเสริมและผลักดันให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลทุกรูปแบบ ด้านการเรียนรู้และพัฒนา ควรมีการประเมินผล ติดตามการนำความรู้จากการฝึกอบรมมาปรับประยุกต์ใช้กับภารกิจงาน เพื่อให้เกิดศักยภาพในการปฏิบัติงาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7393
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
155138.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons