Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/740
Title: การประเมินผลการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญสาขาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จังหวัดมหาสารคาม
Other Titles: Evaluation of program for developing Village Health Volunteer experts in the diabetes mellitus and hypertension aspects in Maha Sarakham Province
Authors: ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชาลี ยะวร, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
อาสาสมัครสาธารณสุข--การประเมิน
อาสาสมัครสาธารณสุข--ไทย--มหาสารคาม
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยประเมินผลโดยประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์ของสตัฟเฟิลบีม มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลโครงการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เพื่อยกระดับเป็น อสม. เชี่ยวชาญ สาขาเบาหวานและความดันโลหิตสูง จังหวัดมหาสารคาม ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบริบทด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงานด้านผลผลิต และ (2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนา อสม. เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ อสม. ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนา อสม. เชี่ยวชาญ จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 322 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้แบบสอบถาม และเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด ผลการวิจัยพบว่า (1) การประเมินผลด้านบริบทอยู่ในระดับสูงด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับปานกลางด้านกระบวนการอยู่ในระดับสูง ด้านผลผลิตในด้านความรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง อยู่ในระดับสูง ความรู้เรื่องการคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงอยู่ระดับปานกลางการปฏิบัติงานการคัดกรองและการดูแลโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับสูงความครอบคลุมการคัดกรอง กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 97 ซึ่งสูงกว่าปีที่ไม่มีการพัฒนาและสูงกว่าเป้าหมายอัตราป่วยรายใหม่โรคเบาหวานยังไม่ผ่านเกณฑ์ โรคความดันโลหิตสูงถือว่าผ่านเกณฑ์ และ (2) ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินการที่สำคัญ คือ ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ความไม่เพียงพอ ด้านงบประมาณสนับสนุนในการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจำนวนสื่อประชาสัมพันธ์ และวัสดุอุปกรณ์ในการรณรงค์ รวมทั้งปัญหา ด้านกระบวนการ ได้แก่ จำนวน อสม. ได้ปฏิบัติงานตรวจคัดกรองโรค และระยะเวลาการจัดอบรม (2 วัน) น้อยเกินไปข้อเสนอแนะคือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ควรสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานหน่วยงานสาธารณสุขควรเพิ่มการสนับสนุนสื่อประชาสัมพันธ์ และอุปกรณ์ในการรณรงค์ใหเพียงพอ รวมทั้งควรจัดอบรมเพื่อเพิ่มจำนวน อสม. เชี่ยวชาญให้เพียงพอ และเพิ่มระยะเวลาการอบรมเป็น 3-5 วัน
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/740
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
118388.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.32 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons