กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7424
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นสามัญของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Return and risk analysis of common stock investment in the Stock Exchange of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิญญา วนเศรษฐ
ชาลิตา นาคสุริยะ, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อัฉรา ชีวะตระกลูกิจ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
อัตราผลตอบแทน
การวิเคราะห์การลงทุน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย--การลงทุน
ความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนกับความเสี่ยง
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นสามัญ (2) ศึกษาความเสี่ยงที่มีระบบจากการลงทุนในหุ้นสามัญ (3) วิเคราะห์ผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนในหุ้นสามัญโดยใช้ตัวแบบการประเมินราคาสินทรัพย์ทุน (4) ศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง และความเสี่ยงที่มีระบบของหุ้นสามัญ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการวิจัยโดยการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิรายวัน ได้แก่ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ราคาปิดของหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนจำนวน 478 หลักทรัพย์ และอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล ตั้งแต่ ม.ค.55 – ธ.ค. 59 รวม 5 ปี เพื่อนำมาคำนวณหาอัตราผลตอบแทน ความเสี่ยงที่เป็นระบบและอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง โดยใช้ตัวแบบการประเมินราคาสินทรัพย์ทุน ผลการศึกษา พบว่า (1) อัตราผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์์ เฉลี่ย คือ 0.04% ต่อวันหรือ9.78% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเฉลี่ย คือ 0.01% ต่อวันหรือ 2.75% ต่อปี อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุด คือ บมจ.ไทยนิปปอนรับเบอร์ อินดัสตรี้ จากกลุ่ม CONSUMP รองลงมา คือ บมจ.ยู ซิตี้ จากกลุ่ม PROPCON และ บมจ.เอฟเอ็น แฟคตอรี่ เอ๊าท์เลท จากกลุ่ม SERVICE คือ 4.23%, 3.89% และ 3.63% ตามลำดับ (2) ผลการศึกษาความเสี่ยงที่เป็นระบบของหลักทรัพย์สูงที่สุดคือ บมจ.ยู ซิตี้ จากกลุ่ม PROPCON รองลงมาคือ บมจ.เอกชัยการแพทย์ จากกลุ่ม SERVICE และบมจ.ออลล่า จากกลุ่ม INDUS คือ 3.44, 2.73 และ 2.62 ตามลำดับ (3) ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนที่ คาดหวังจากการลงทุน พบว่า หลักทรัพย์ที่่มีอัตราผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริงมากกว่าอัตราผลตอบแทนที่นักลงทุนคาดหวัง มีจำนวน 360 หลักทรัพย์ (4) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังและความเสี่ยงที่มีระบบ พบว่า ค่าที่ได้ทั้งสองมีความสัมพันธ์กัน คือเมื่อค่าความเสี่ยงที่เป็นระบบเพิ่มสูงขึ้น อัตราผลตอบแทนที่นักลงทุนคาดหวังก็จะเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7424
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
155160.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons