กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/743
ชื่อเรื่อง: ความรู้ ทัศนคติ และผลการปฏิบัติในการดำเนินการร้านค้าและร้านอาหารของผู้ประกอบการที่มีผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Knowledge, attitudes, and performance of food providers with non-conforming performance evaluation to the standard criteria of consumer protection implementation in Buri Rum Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เยาวภา ติอัชสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชัยณรงค์ สมสะอาด, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ร้านค้า--ไทย--บุรีรัมย์
ร้านอาหาร--ไทย--บุรีรัมย์
การคุ้มครองผู้บริโภค--การจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความรู้ และทัศนคติ (2) การปฏิบัติในการดำเนินการร้านค้าและร้านอาหารตามมาตรฐานการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคล ระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการดำเนินการร้านค้าและร้านอาหารของผู้ประกอบการที่มีผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ปี 2552 ในจังหวัดบุรีรัมย์ ประชากรในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการร้านค้าร้านอาหารที่มีผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคใน 23 อำเภอ 237 ตำบล จำนวน 767 คน ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการกำหนดขนาดสัดส่วนตามอำเภอและตำบลได้ 262 แห่ง เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบ ถามสำหรับผู้ประกอบการประเมินตนเองเกี่ยวกับความรู้ และทัศนคติในการดำเนินการร้านค้าและร้านอาหารตามมาตรฐานการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.863 และ 0.819 และแบบประเมินสำหรับผู้วิจัยทำการสังเกตการปฏิบัติตามมาตรฐานร้านค้าและร้านอาหารของผู้ประกอบการทำการประมวลผลและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยแสดงการพรรณนาข้อมูลด้วยร้อยละ ค่ากลาง และค่าการกระจายของข้อมูล และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาด้วยการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ประกอบการประเมินตนเองว่ามีความรู้ในระดับดี และมีทัศนคติในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อกำหนดการดำเนินการร้านค้าและร้านอาหารตามมาตรฐานการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค (2) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีผลการปฏิบัติอยู่ในระดับดี และ (3) ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับระดับความรู้และทัศนคติ ระยะเวลาเปิดดำเนินกิจการมีความสัมพันธ์กับระดับทัศนคติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้ ทัศนคติและผลการปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/743
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
124348.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons