กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7454
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาการดำเนินงานตามกระบวนการงบประมาณของไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development for operating Thai budget process |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จีระ ประทีป ณรงค์ฤทธิ์ หอมอ่อน, 2504- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา อิศเรศ ศันสนีย์วิทยกุล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ งบประมาณ--ไทย--การจัดการ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์การดำเนินงานตามกระบวนการงบประมาณของไทยในด้านการจัดเตรียมงบประมาณ การอนุมัติงบประมาณ และการบริหารงบประมาณ (2) วิเคราะห์ปัญหาดำเนินงานตามกระบวนการงบประมาณของไทย (3) เสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามกระบวนการงบประมาณของไทย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 27 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็น แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา โดยการวิเคราะห์สรุปข้อมูล ที่ได้จากเอกสารและการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) การดำเนินงานตามกระบวนงบประมาณของไทย ที่สำคัญคือด้านการจัดเตรียมงบประมาณ การจัดทำคำของบประมาณของส่วนราชการจะยึดถือ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณประจำปี นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของหัวหน้าส่วนราชการ ด้านการอนุมัติงบประมาณมีการพิจารณางบประมาณของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเป็น 3 วาระ ด้านการบริหารงบประมาณมีการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณจำนวนมาก (2) ปัญหาการดำเนินงานตามกระบวนการงบประมาณที่สำคัญ คือ ด้านการจัดเตรียมงบประมาณ เจ้าหน้าที่งบประมาณของส่วนราชการต่างๆ มักนำเอาคำของบประมาณในปีที่ผ่าน มามาใช้เป็นแนวทางในการจัดทำคำของบประมาณในปี ปัจจุบัน ด้านการอนุมัติงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภายังมิได้พิจารณางบประมาณตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ ซึ่งให้ความสำคัญกับผลผลิตและผลลัพธ์เท่าที่ควร ด้านการบริหารงบประมาณ การเบิกจ่ายเงินงบประมาณยังดำเนินการได้ล่าช้าไม่สอดคล้องกับมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาล (3) ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามกระบวนการงบประมาณที่สำคัญ คือ ด้านการจัดเตรียมงบประมาณ ควรพิจารณาจัดทำคำของบประมาณโดยพิจารณาจากเหตุผลและความจำเป็นในปี ที่จัดทำคำของบประมาณ ด้านการอนุมัติงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาควรให้ความสำคัญกับการพิจารณางบประมาณตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ให้มากขึ้น โดยควรมีการจัดสัมมนาเพื่อพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมในการพิจารณางบประมาณที่เน้นถึงผลผลิตและผลลัพธ์ ด้านการบริหารงบประมาณ หัวหน้าส่วนราชการควรให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณและเร่งรัดติดตามผลการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามแผน รวมทั้งควรมีการนำระบบ New GFMIS THAI ที่พัฒนาขึ้นมาใช้ในการบริหารงบประมาณ. |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7454 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
158642.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.41 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License