กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7456
ชื่อเรื่อง: | กลยุทธ์การเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การอย่างยิ่งยืนของพนักงานบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Strategies for enhancing sustainable commitment of staff at The Aeronautical Radio of Thailand Limited Company |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิ่งพร ทองใบ อรจิรา ปาณีนิจ, 2517- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา รชพร จันทร์สว่าง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด--พนักงาน--ความพอใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและรูปแบบกลยุทธ์ในการพัฒนาลักษณะงานเพื่อสร้างความผูกพันอย่างยั่งยืนของพนักงาน บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (2) ศึกษาระดับความผูกพันอย่างยั่งยืนของพนักงาน บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (3) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันของพนักงาน บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด และ (4) เสนอแนะกลยุทธ์ในการเสริมสร้างความผูกพัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ พนักงาน บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทยจำกัด รวม 2,950 คน คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรการสุ่มของทาโร ยามาเน ได้กลุ่มตัวอย่าง 353 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่ามัชฌิมและค่าร้อยละ สถิติเชิงอนุมานใช้การทดสอบแบบที และแบบเอฟ ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพและรูปแบบกลยุทธ์การสร้างความผูกพันในการพัฒนาลักษณะงานเพื่อเสริมสร้างความผูกพันของพนักงานบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด คือ บริษัทมีการใช้กลยุทธ์การสร้างความผูกพันอย่างยั่งยืนใน 8 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีอิสระในการทำงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน ด้านภาวะความเป็นผู้นำ ด้านโอกาสในการก้าวหน้า ด้านสวัสดิการและค่าตอบแทนและด้านการติดต่อสื่อสาร (2) ระดับความผูกพันของพนักงาน บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด มีระดับความผูกพันมากที่สุด (3) ปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าพนักงานบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ที่มีเพศและอายุแตกต่างกันมีระดับความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนลักษณะบุคคลด้านสถานภาพสมรสและระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีระดับความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านลักษณะงานทั้ง 8 ด้าน พบว่าพนักงานบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ที่มีระดับการยอมรับในลักษณะงานทั้ง 8 ด้าน แตกต่างกันมีระดับความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (4) แม้ว่าพนักงานจะมีระดับความผูกพันในระดับมาก แต่กลยุทธ์การสร้างความผูกพันยังไม่สัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศและอายุ ดังนั้นควรมีกลยุทธ์อื่นที่จะช่วยสร้างเสริมให้พนักงานทุกเพศและทุกกลุ่มอายุมีระดับความผูกพันต่อองค์การสูงขึ้นโดยแนะกิจกรรมด้านสันทนาการ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7456 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
156661.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.34 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License