กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7459
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของการบริหารตราสินค้าและการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการที่มีต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์เครืองสำอางไทย ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ในจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Influence of brand management and integrated marketing communication on consumer purchasing decision in Thai cosmetic products through social network in Chonburi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภูริพัฒน์ ชาญกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภาวิน ชินะโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จันทิมา กำลังดี, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
ชื่อตราผลิตภัณฑ์ -- การจัดการ
การสื่อสารทางการตลาด
การตลาด -- การตัดสินใจ
เครื่องสำอาง
การซื้อสินค้าทางไกล
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคที่เลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไทยที่ขายผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของกลุ่มผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี (2) อิทธิพลของการบริหารตราสินค้าที่มีต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไทยที่ขายผ่าน เครือข่ายสังคมออนไลน์ของกลุ่มผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี และ (3) อิทธิพลของการสื่อสารการตลาด เชิงบูรณาการ ที่มีต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไทยที่ขายผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ของกลุ่มผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ กลุ่มผู้บริโภค เจเนอเรชั่น วาย ใน จังหวัดชลบุรี ที่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไทยที่ขายผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เนื่องจากไม่ทราบ จำนวนประชากรที่แน่นอนจึงได้กำหนดขนาดตัวอย่างจากสูตรของ คอแคน ได้ 400 คน โดยใช้วิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามออนไลน์ ข้อมูลทุติยภูมิคือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไทยของผู้บริโภค อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญด้านคุณภาพและมาตรฐานรับรอง ของสินค้ามากที่สุด และ (2) การบริหารตราสินค้า พบว่า ด้านความภักดีในตราสินค้า ด้านการรับรู้ ตราสินค้า ด้านปัจจัยเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไทย ที่ขายผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการ ได้แก่ ด้านการโฆษณา และด้านการตลาดทางตรง มีอิทธิพลต่อ การตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไทยที่ขายผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของกลุ่มผู้บริโภค ในจังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7459
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
158662.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons