กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/745
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคณะกรรมการหมู่บ้าน : ศึกษากรณี อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting political participation of village committee members : a case study of Mae Taeng District, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฐปนรรต พรหมอินทร์
ภัชรีภรณ์ ทาวดี, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จุมพล หนิมพานิช
ประพนธ์ เจียรกูล
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
การมีส่วนร่วมทางการเมือง--ไทย--เชียงใหม่
คณะกรรมการหมู่บ้าน
คณะกรรมการหมู่บ้าน--กิจกรรมทางการเมือง
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยอันได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสังคมปัจจัยต้านเศรษฐกิจ (2) การมีส่วนร่วมทางการเมืองของคณะกรรมการหมู่บ้านในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยอันได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองคณะกรรมการหมู่บ้าน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ (4) ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคณะกรรมการหมู่บ้าน และ (5) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคณะกรรมการหมู่บ้าน ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย กลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุค อาอุ 45 -54 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษาหรือตํ่ากว่า โดยส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและไม่เป็นหัวหน้ากลุ่มหรือประธานกลุ่มต่าง ๆ กลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดประกอบอาชีพรับข้างทั่วไป และมีรายได้ ระหว่าง 3,000 - 5,000 บาทต่อเดือน 2) กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับบ่อยมาก ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง ระดับบ่อยครั้ง ด้านการชักชวนใบ้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกดังและการติดตามข่าวสารทางการเมือง ระดับปานกลาง ด้านการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวทางการเมือง และด้านการเช้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง และระดับน้อยครั้ง ด้านการติดต่อกับนักการเมืองหรือเข้าหน้าที่ทางการเมือง 3) ระดับ การศึกษา การเป็นหัวหน้าหรือประธานกลุ่มต่าง ๆ รายได้ และที่มาของคณะกรรมการหมู่บ้าน มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) การติดต่อกับนักการเมืองหรือเข้าหน้าที่ทางการเมืองเป็นปัญหาและอุปสรรคด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับมาก และ 5) การซักชวนใบ้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การติดต่อกับนักการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ทางการเมือง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/745
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
98143.pdfเอกสาณฉบับเต็ม5.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons