Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7465
Title: | การประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลสิชล อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช |
Other Titles: | Assessment of Sichon Sub-district administrative organization Sichon District Nakhon Si Thammarat Province |
Authors: | จีระ ประทีป เรวดี รัตนบุรี, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตำบล--การทำงาน--การประเมิน มาตรฐานการทำงาน การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตําบลสิชล อําเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ในด้านการเงินประชาชนผู้รับบริการ ด้านกระบวนการทํางาน ด้านการพัฒนาและการเจริญเติบโต (2) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการดําเนินงานขององค์การ บริหารส่วนตําบลสิชล อําเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราชการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ บุคลากรที่มีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตําบลสิชล รวมทั้งสิ้น 22 คน ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตําบลสิชล ปลัดองค์การบริหารส่วนตําบลสิชล หัวหน้าสํานักปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล ผู้อํานวยการกองคลัง ผู้อํานวยการกองช่าง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นักพัฒนาชุมชน บุคลากร ผู้ช่วยเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตําบลสิชล สมาชิกองค์การบริหารส่วนตําบลสิชล จํานวน 2 คน และ ประชาชนผู้รับบริการ จํานวน 10 คน ซึ่งจะใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) การประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการเงินมีรายรับมากกว่ารายจ่ายทุกปีงบประมาณ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554-2558 ด้านประชาชนผู้รับบริการ ความพึงพอใจของประชาชน ผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก ด้านกระบวนการภายในมีเกณฑ์การดําเนินงานได้คะแนนร้อยละ 71.10 อยู่ในระดับพอใช้ ด้านการเรียนรู้และการพัฒนามีการพัฒนาบุคลากรได้คะแนนร้อยละ 60 อยู่ในระดับต้องปรับปรุง (2) ปัญหาในด้านเงินการตั้งงบประมาณรายจ่ายไม่สอดคล้องกับรายจ่ายจริง และรายได้ที่จัดเก็บเองมีจํานวนน้อยไม่เพียงพอต่อการนํามาใช้พัฒนาท้องถิ่น ด้านประชาชนผู้รับบริการ ประชาชนมีคาดหวังกับการให้บริการมากจนไม่สามารถแยกแยะภารกิจและหน้าที่ที่แท้จริงขององค์การบริหารส่วนตําบลได้ ด้านกระบวนการภายใน บุคลากรมีจํากัดทําให้การปฏิบัติงานขาดประสิทธิภาพ ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา การฝึกอบรมบุคลากรยังไม่คลอบคลุมทุกตําแหน่ง ข้อเสนอแนะ ด้านการเงินควรจัดทํางบประมาณให้สอดคล้องกับรายจ่ายจริง โดยยึดหลักการประหยัดและคุ้มค่า และให้ความสําคัญกับการจัดเก็บภาษี ด้านประชาชนผู้รับบริการควรประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนเข้าใจภารกิจและหน้าที่ที่แท้จริงขององค์การบริหารส่วนตําบล ด้านกระบวนการภายใน เห็นควรจัดบุคลากรให้ครบตามแผนอัตรากำลัง ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา เห็นควรส่งบุคลากรหมุนเวียนเพื่อเข้ารับการอบรมพัฒนาความรู้ให้ครบทุกตําแหน่ง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7465 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_148768.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License