กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7471
ชื่อเรื่อง: การนำนโยบายการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืนไปปฎิบัติในจังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: National development policy implementation of the Thai Niyom YaegYuen project in Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์
เนตรนภา ขัติยศ, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พนมพัทธ์ สมิตานนท์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
โครงการไทยนิยมยั่งยืน--ไทย--พะเยา
การพัฒนาประเทศ--นโยบายของรัฐ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสำเร็จของการนำนโยบายการขับเคลื่อนการ พัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืนไปปฏิบัติในจังหวัดพะเยา (2) ศึกษาความแตกต่างกันของความคิดเห็นของแต่ละอำเภอต่อระดับ ความสำเร็จในการนำนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืนไปปฏิบัติในจังหวัดพะเยา (3) ศึกษาปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืนไปปฏิบัติในจังหวัดพะเยา และ (4) เสนอแนะแนวทางของการนำนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืนไปปฏิบัติในจังหวัดพะเยา ในอนาคต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรได้แก่ประชาชนชาวจังหวัดพะเยา ทั้งหมด 486,304 คน และทีมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ระดับตำบลในจังหวัดพะเยา ทั้งหมด 816 คน ใช้วิธีการคำนวณกลุ่มตัวอย่างตามสูตรการคำนวณของยามาเน่ ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) ประชาชนจังหวัดพะเยา จำนวน 401 คน และ (2) ทีมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน ระดับตำบล จำนวน 275 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยได้แก่ แบบสอบถามโดยการแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนายอำเภอในจังหวัดพะเยา สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและการวิเคราะห์เชิงพหุแบบขั้นตอน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย และการจำแนกชนิดข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับความสำเร็จในการนำนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ตามโครงการไทยนิยมยั่งยืนไปปฏิบัติในจังหวัดพะเยา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (2) แต่ละอำเภอในจังหวัดพะเยามีความเห็นต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืนไปปฏิบัติในจังหวัดพะเยา ที่แตกต่างกัน (3) หลักธรรมาภิบาล การนำนโยบายไปปฏิบัติ การมีส่วนร่วมของประชาชน ในกิจกรรมของภาครัฐและแรงจูงใจของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืนไปปฏิบัติในจังหวัดพะเยา และ (4) ข้อเสนอแนะ คือควรมีการดำเนินโครงการให้ต่อเนื่องและปรับเงื่อนไขในการดำเนินโครงการให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนให้มากยิ่งขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7471
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
160393.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons