Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7478
Title: การพัฒนารูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนของชุมชนในประเทศไทย
Other Titles: Model development of community poverty solving in Thailand
Authors: วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภมาส อังศุโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. รัฐประศาสนศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
ความจน -- ไทย
การแก้ปัญหา
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนของชุมชน ในประเทศไทย และ (2) นารูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนไปตรวจสอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ในชุมชนตัวอย่าง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยมีการยกร่างเป็นรูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนของ ชุมชนในประเทศไทย ก่อนนำไปตรวจสอบกับข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการสอบถามหัวหน้าหน่วยงานที่มีหน้าที่ เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาความยากจน 181 แห่ง และกลุ่มตัวอย่างครัวเรือนยากจน 10 จังหวัดที่มีสัดส่วนคน ยากจนสูงสุด 400 ครัวเรือน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ โมเดลสมการโครงสร้าง จากนั้นยืนยันรูปแบบฯ กับข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม 6 ชุมชนจาก 6 ภาค ของประเทศไทย โดยใช้เครื่องมือแบบสนทนากลุ่ม แล้วจึงตรวจสอบรูปแบบฯ กับข้อมูลเชิงประจักษ์ของชุมชน ตัวอย่าง 2 ชุมชนในจังหวัดชุมพร โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลสภาพชุมชนและแบบตรวจสอบรายการกิจกรรม ผลการวิจัย (1) จากการวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่า รูปแบบการแก้ปัญหาความยากจนของชุมชน ในประเทศไทยที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ตัวแปร ได้แก่ 1) มาตรการของรัฐและท้องถิ่น 2) แนวทาง การดำเนินการของพฤติกรรมบุคคลและครอบครัว 3) แนวทางการดำเนินการของชุมชน และ 4) ผลการแก้ปัญหา ความยากจน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงปริมาณ โดยตัวแปรมาตรการของรัฐและท้องถิ่นมีอิทธิพลต่อผล การแก้ปัญหาความยากจนมากที่สุด โดยมีทั้งอิทธิพลทางตรงและมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านอีกสองตัวแปรที่เหลือ ส่วนผลจากการสนทนากลุ่ม สอดคล้องเป็นไปตามผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ และรูปแบบดังกล่าวสามารถ แก้ปัญหาความยากจนของชุมชนได้ และ (2) การตรวจสอบรูปแบบกับชุมชนตัวอย่าง 2 ชุมชน พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของชุมชนตัวอย่างทั้งสองแห่ง โดยภายหลังการดำเนินการตามรูปแบบฯ มีผลการแก้ปัญหาความยากจน ด้านความสามารถในการเข้าถึงบริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม ดีขึ้นทั้ง สองชุมชน ส่วนด้านสิ่งจำเป็นตามมาตรฐานการดำรงชีพ (จปฐ.) ได้รับการพัฒนา และด้านประชาชนมีรายได้ มากกว่า 38,000.- บาท ต่อคนต่อปี พบว่า ผ่านเกณฑ์ทั้งสองชุมชน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7478
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
162526.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.03 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons