Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7482
Title: รูปแบบการจัดองค์การธุรกิจก่อสร้างในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย
Other Titles: Pattern of organization for construction business in economic recession
Authors: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินตนา ธนวิบูลย์ชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
มานิตย์ ศุทธสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริศักดิ์ ปานบำรุง, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง -- การจัดการ
ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง -- ภาวะเศรษฐกิจ
Issue Date: 2545
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนีมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบการจัดองค์การของธุรกิจก่อสร้างที่ เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอย (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมกับ ความคิดเห็นขฺองผู้บริหารในการจัดองค์การธุรกิจก่อสรัาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารหรือเจ้าของบริษัทรับเหมาก่อสร้าง จำนวน 376 คน จากทั้ง หมด 3,763 บริษัทการเลือกผู้บริหารหรือเจ้าของบริษัทรับเหมาได้เลือกอย่างเจาะจง เครื่องมือที่ใชั รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นข้อมูลที่ได้นำไปประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ โดย ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ("X) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. ) และ สถิติทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการจัดองค์การธุรกิจก่อสร้างในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ควรมีการปรับรูปแบบโดยในด้านการจัดโครงสร้างองค์การควรยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนได้ตาม สถานการณ์ เพื่อความคล่องตัวในการทำงานควรรวมแผนกงานเหมือนกันเข้าด้วยกันควรลดสาย การบังคับบัญุชาและขนาดของการควบคุมควรสั้นและขึ้นกับความซับซ้อนของงาน พนักงานควรมี อำนาจหน้าที่ไนระดับหนึ่งเพื่อความรวดเร็วในการทำงาน (2) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อม ภายนอกด้านปริมาณงานภาครัฐและเอกชนมีความสัมพันธ์กับขนาดของการควบคุม อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ส่วนการปล่อยสินเชื่อของสถาบันทางการเงินพบว่ามีความสัมพันธ์กับ การจัดแผนกงาน สายการบังคับบัญชา ขนาดของการควบคุมและอำนาจหน้าที่อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 สำหรับสภาพแวดล้อมภายในด้านสภาพคล่องทางการเงิน และเครดิตทางร้านค้าพบ ว่าไม่มีความสัมพันธ์กับการจัดองค์การธุรกิจก่อสร้าง ในส่วนของคุณภาพของบุคลากรด้านความ เชี่ยวชาญของบุคลากรมีความสัมพันธ์กับการจัดโครงสร้างองค์การ การจัดแผนกงาน สายการบังคับ บัญชา ขนาดของการควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ด้านการทำงานให้เสร็จตามที่ มอบหมายรความสัมพันธ์กับ ขนาดของการควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับ ระบบสารสนเทศโดยการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในองค์การมีความสัมพันธ์กับการจัดโครงสร้าง องค์การและขนาดของการควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ด้านประโยชน์ของ คอมพิวเตอร์ต่อองค์การมีความสัมพันธ์กับการจัดแผนกงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7482
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
77122.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.29 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons