กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7506
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการน้ำชลประทาน : กรณีศึกษาโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโดมน้อย จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Water users' participation in irrigation water management : a case study of the Dom Noi operation and maintenance project in Ubon Ratchathani province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รังสรรค์ ประเสริฐศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไพลิน นุชถาวร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ชลประทาน--การมีส่วนร่วมของประชาชน
ชลประทาน--ไทย--อุบลราชธานี
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพึ่อศึกษา (1) ระดับการมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำ (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การรส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำ (3) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำ และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วม ของผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการน้ำชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโดมน้อย จังหวัดอุบลราชธานี ประชากรที่ใช้ไนการวิจัยครั้งนี้ คือ สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานจำนวน 6,625 ราย โดยสุ่มแบบ ชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่าง 380 ราย เครื่องมือที่ใช้เน้นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี ค่ารัอยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด วิเคราะห์ระดับการมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำใช้ การทดสอบค่าที วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยวิธีถดถอยเชิงพหุ และ วิเคราะห์ความแตกต่างใช้การวิเคราะห์ความ แปรปรวนทางเดียว และหาความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟ่เฟ่ ผลการวิจัย พบว่า (1) การมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการน้ำชลประทานในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำในการบริหารจัดการน้ำทุกขั้นตอน พบว่า ตัวแปร อิสระมีความสัมพันธ์ 6 ตัวแปร มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ บทบาท ผู้นำกลุ่มผู้ใช้น้ำ ความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้น้ำ ความเข้มแข็งของกลุ่มผู้ใช้น้ำ ความพึงพอใจของผู้ใช้นำ และ บทบาทสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ (3) การเปรืยบเทียบความแตกต่างการมีส่วนร่วมในด้านการบริหารจัดการน้ำในภาพรวม พบว่า การมีส่วนร่วมระหว่างฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1- 4 แตกต่างกัน โดยผู้ใช้น้ำฝ่ายส่งนำที่ 3 มีส่วนร่วมใน การบริหารจัดการน้ำชลประทานมากที่สุด (4) ปัญหาด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ พบว่า ผู้ใช้น้ำขาด การวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแกัไขปัญหาที่เกิดขึ้น ปัญหาการกำหนดระเบียบ กระบวนการ และวิธีดำเนิน กิจกรรมการบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา การร่วมสมทบแรงงานในการขุดลอกคลอง - คูส่งนำและทางระบายน้ำ และมีปัญหาด้านการเสนอแนะเพื่อแก้ไขปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำและการบำรุงรักษา ทั้งนี้ผู้ใช้น้ำได้เสนอแนะ เจัาหน้าที่ชลประทานควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ และผู้เกี่ยวข้องต้องช่วยกันตรวจสอบการส่งน้ำอย่างเคร่งครัค ควรช่อมแซมคลองให์ใช้งานได้ดี และควรเก็บเงินค่าน้ำชลประทาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7506
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
118853.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons