กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/750
ชื่อเรื่อง: | การมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานประกอบการในจังหวัดปทุมธานีกับวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The participation in the dual system vocational education management of enterprises in Pathumthani province with Pathumthani Technical College |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จำลอง นักฟ้อน, อาจารย์ที่ปรึกษา โกศล มีคุณ, อาจารย์ที่ปรึกษา สุภาพ ผลาพิบูลย์, 2497- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --วิทยานิพนธ์ การศึกษาทางอาชีพ--ไทย--ปทุมธานี ความร่วมมือทางการศึกษา การศึกษา--การมีส่วนร่วมของประชาชน.--ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานประกอบการในจังหวัดปทุมธานีกับวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี (2)เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมโนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานประกอบการในขังหวัดปทุมธานี และวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานีในทรรศนะของบุคคลกลุ่มต่าง ๆ (3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาในระบบทวิภาคีกสุ่มตัวอย่างที่ใข้ไนการวิจัยประกอบด้วย บุคลากรในสถานประกอบการ จำนวน 222 คนและบุคลากรในถานศึกษา จำนวน 90 คน รวม 312 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบสมัครใจ เครื่องมือที่ไช้ไนการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับในส่วนของสถานศึกษาเท่ากับ .96 และในส่วนของสถานประกอบการเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใต้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า (1) สถานประกอบการและสถานศึกษามีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาในระบบทวิภาคีในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง (2) การเปรียบเทียบมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีระหว่างสถานประกอบการในจังหวัดปทุมธานีและวิทยาลัยปทุมธานีในภาพรวมทุกด้านพบว่าไม่มีความแตกต่างกันยกเว้นการมีส่วนร่วมด้านบุคลากรทั้ง 2 ฝ่ายมีความเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมที่สำคัญใต้แก่ ขาดการวางแผนร่วมกัน ผู้บริหารขาดการเอาใจใส่และสนับสนุน หลักสูตรการฝึกอบรมไม่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการส่วนข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมที่สำคัญได้แก่ ผู้บริหารควรให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546. |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/750 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License