Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7522
Title: | กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอยของอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ในช่วงระยะเวลา ปี พ.ศ. 2540-2544 |
Other Titles: | Strategy of human resource management of construction and real estate industry during the economic recession |
Authors: | ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์ นงลักษณ์ กิสรวงศ์, 2502- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา รณงค์ศักดิ์ บุญเลิศ เสน่ห์ จุ้ยโต |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ ทรัพยากรมนุษย์--การจัดการ อุตสาหกรรมการก่อสร้าง |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอยของอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ (2) ศึกษากลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอยของอุตสาหกรรบก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงและผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 206 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครี่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมานค่า ที่เกี่ยวกับกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.73 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสถิติ t-test ค่าสถิติ ANOVA การทดสอบความสัมพันธ์ด้วยวิธึการหาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า (1) ประเภทธุรกิจที่แตกต่างกัน ใช้กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกัน (2) ขนาดของบริษัทที่แตกต่างกันใช้กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ไม่แตกต่างกัน (3) จำนวนพนักงานที่แตกต่างกันใช้กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ไม่แตกต่างกัน (4) นโยบายการจัดการทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (5) ระดับของปัญหาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับการใช้กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ข้อเสนอแนะ ควรให้มีการกำหนดหรือวางแนวทางกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ภายใต้กรอบของข้อค้นพบการวิจัยครั้งนี้นำไปทดสอบหรือใช้จริงกับหน่วยงานหรือบริษัท และควรให้ศึกษากลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในช่วงระยะเวลาเศรษฐกิจดี เพื่อนำข้อมูลการจัดการทรัพยากรมนุษย์มาเปรียบเทียบ การวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างการจัดการทรัพยากรมนุษย์โดยมุ่งเน้นขั้นตอนอย่างละเอียด และสุดท้ายควรทำการศึกษากลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์อีกครั้งเมื่อพ้นระยะเวลา 4 ปีไปแลัว เพื่อจะได้ทราบว่ากลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์จะอยู่ในรูปแบบและทิศทางใดในอนาคต เมื่อประเทศสามารถฟื้นฟูธุรกิจและสภาวะเศรษฐกิจได้ดีขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7522 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License