กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/752
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the service system development in Sub-district Health Promoting Hospitals, Meahongson Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรางคณา จันทร์คง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฐิติวรดา อัครภานุวัฒน์, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล--ไทย--แม่ฮ่องสอน
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงวิเคราะห์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยลักษณะบุคคล กระบวนการบริหารองค์กรและแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (2) ระดับการพัฒนาระบบบริการ (3) ปัจจัยลักษณะบุคคลกระบวนการบริหารองค์กร และแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ (4) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงในกลุ่มผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานให้บริการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 71 แห่งๆ ละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 142 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุเฉลี่ย 40.97 ปี สถานภาพสมรสคู่ จบการศึกษาระดับปริญญาหรือเทียบเท่า ประสบการณ์การทำงานเฉลี่ย 18.14 ปี และมีรายได้เฉลี่ย 21,959.81 บาท ปัจจัยกระบวนการบริหารในภาพรวม และด้านการวางแผน การจัดองค์กร อยู่ในระดับสูงส่วนด้านการจัดคนเข้าทำงานและการอำนวยการอยู่ในระดับปานกลาง แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ปัจจัยจูงใจ และปัจจัยคํ้าจุน ในภาพรวม อยู่ในระดับสูง (2) การพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพจังหวัดแม่ฮ่องสอนในภาพรวม และด้านการพัฒนาฐานข้อมูลและด้านการจัดบริการในบ้านอยู่ในระดับสูง (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คือ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานและกระบวนการบริหารองค์กรในภาพรวม โดยสามารถทำนายการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้ร้อยละ 25.5 และ 18.9 ตามลำดับ และ (4) ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญคือภาระงานหนักจำนวนบุคลากรไม่ครบตามกรอบอัตรากำลัง สภาพการคมนาคมในพื้นที่ยากลำบาก และการสร้างเครือข่ายทำได้ยาก ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารสาธารณสุขในระดับจังหวัด ควรเพิ่มบุคลากรให้เหมาะสมตามโครงสร้างกำลังคน และสนับสนุนอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ เน้นการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครชุมชนจิตอาสาให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มการพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งๆ ขี้นไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/752
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
128989.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons