Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7534
Title: | การพัฒนาคู่มือปฏิบัติงานระบบ Terminal Coordination System เพื่อการควบคุมการจราจรทางอากาศ |
Other Titles: | Development of terminal coordination system operation manual for air traffic control |
Authors: | จีราภรณ์ สุธัมมสภา พงษ์พิพัฒน์ ลับไพรี, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การควบคุมจราจรทางอากาศ การบิน--มาตรการความปลอดภัย การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การพัฒนาคู่มือปฏิบัติงานของระบบ Terminal Coordination System เพื่อการควบคุมการจราจรทางอากาศมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาคู่มือการใช้งานระบบ Terminal Coordination System ซึ่งแสดงข้อมูลเกี่ยวกับแผนการบินของศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศดอนเมือง และสุวรรณภูมิ ฝ่ายปฏิบัติการจราจรทางอากาศ 2 บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด การดำเนินการศึกษาทำโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการอบรม การทคลองปฏิบัติงานจริง และทำการประเมินผลการใช้คู่มือกลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 125 คน เครื่องมือในการประเมินผลคู่มือได้แก่ แบบสอบถาม สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ค่าสถิติที่ ใช้ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean) โคยการวัดความคิดเห็นจะใช้มาตรวัดของ ลิเคิร์ท (Linker's scale) 5 ระดับ ผลการศึกษาได้แก่ คู่มือการใช้งานระบบ Terminal Coordination System ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 บท ประกอบด้วย บทที่ 1 การทำงานของระบบ TECOS บทที่ 2 การแสดงผลบนหน้าจอ TECOS บทที่ 3 กระบวนการต่างๆเกี่ยวกับข้อมูลการบิน บทที่ 4 Menu Bar บทที่ 5 Supervisor Menu (SPVR) บทที่ 6 การประสานงานโดยอัตโนมัติระหว่างระบบ TECOS และ EUROCAT-X และบทที่ 7 วิธีการปฏิบัติงานด้วย TECOS พร้อมกับมีการจัดการอบรมให้ผู้ปฏิบัติงาน ทำให้สามารถใช้งานระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ เห็นได้จากผลการประเมินคู่มือการปฏิบัติงานว่ามีส่วนช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น ทั้งนี้คู่มือยังคำนึงถึงความเหมาะสมเข้าใจง่าย และสามารถนำคำสั่งงานต่าง ๆไปใช้ได้อย่างเหมาะสม คู่มือที่จัดทำขึ้นจึงเป็นที่พึงพอใจต่อผู้ใช้งานในระดับมากข้อเสนอแนะของการศึกษา การควบคุมการจราจรทางอากาศนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานสำคัญที่สุดคือความปลอดภัยดังนั้นความผิดพลาดจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ะบบใหม่ที่นำมาใช้นั้นจะป็นการพัฒนาศักยภาพในการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรมีการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อระบบงานใหม่ ให้พนักงานเล็งเห็นผลประโยชน์ในระยะยาวของการใช้ระบบ โดยผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ต้องสร้างทีมงานเพื่อช่วยแก้ไขปัญหา และควรมีการส่งเสริมรางวัลให้ผู้ใช้งานที่สนใจและเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7534 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_119874.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 32.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License